งานติดตั้ง

Categories: 1. GENERATOR / TRANSFORMER

Parents: Product

การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1. ห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator set) จะต้องติดตั้งภายในห้องที่แยกจากระบบอื่น ๆ และมีการระบายอากาศที่ดี ซึ่งผนังห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ซึ่งตำแหน่งช่องอากาศเข้า (Inlet) ห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องอยู่ด้านหลังเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ตรงข้ามกับชุดรังผึ้งระบายความร้อน (Radiator) หรือช่องอากาศออก (Outlet) จากห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างช่องลมเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กรณีช่องอากาศไม่สามารถอยู่ด้านหลังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ อนุญาตให้อยู่ตรงตำแหน่งด้านข้างของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ แต่ต้องไม่เลยชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปด้านหลังเครื่องยนต์ขับ ตำแหน่งช่องอากาศออกจากห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะต้องอยู่ด้านหน้าชุดหม้อน้ำระบายความร้อน

รูปแสดงตำแหน่งการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2. ฐานแท่นเครื่อง (Foundation) 

– ฐานแท่นเครืองจะต้องมีขนาดใหญ่กว่่าแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Skid base) 150 มม. หรือ 6 นิ้ว ทุกด้าน เพื่อให้สปริงหรือยางรองแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถติดตั้งบนฐานแท่นเครื่องได้โดยไม่ตกจากแท่น – ฐานแท่นเครื่องจะต้องยกสูงจากพื้นอย่างน้อย 150 มม.หรือ 6 นิ้ว เพื่อสะดวกในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
กรณีฐานแท่นเครืองกำเนิดไฟฟ้าแยกออกจากพื้นอาคาร

– น้ำหนักของฐานแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องไม่น้อยกว่า 2 เท่าของน้ำหนักชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อให้สามารถต้านทานไดนามิกส์โหลดได้ 

– สามารถคำนวนความหนา (h) ของฐานแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้จากสูตร
                    h     =     W / d.l.w

                   h     =     ความหนาของแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หน่วยเป็นฟุต (เมตร)

                l      =     ความยาวของฐานแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หน่วยเป็นฟุต (เมตร)

                    w    =     ความกว้างของฐานแท่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หน่วยเป็นฟุต (เมตร)

                   d      =     ความหนาแน่นของคอนกรีต

                           =     145 ปอนด์ต่อลูกบาศก์ฟุต หรือ = 2,400 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

                   W     =     น้ำหนักรวม (Total wet weight of genset) ของชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หน่วยเป็นปอนด์ (กิโลกรัม)

3. การติดตั้งทางไฟฟ้า

การเลือกอุปกรณ์สับเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟอัตโนมัติสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีดังนี้

4. แบบฟอร์ม Commissioning  จะใช้ของ Supplier ที่ขายและติดตั้งอุปกรณ์

การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า

หม้อแปลงไฟฟ้า มีการติดตั้งเป็น 2 แบบ คือ

การติดตั้งภายในอาคาร แบ่งเป็น

– ติดตั้งไว้ในบริเวณที่จัดไว้สำหรับการติดตั้งหม้อแปลงโดยเฉพาะ

– ติดตั้งในห้องหม้อแปลง


การติดตั้งภายนอกอาคาร แบ่งเป็น

– บนเสาและนั่งร้านหม้อแปลง

– ลานหม้อแปลง

– เครื่องห่อหุ้ม

1. ข้อกำหนดเฉพาะการติดตั้งหม้อแปลงชนิดต่างๆ  หม้อแปลงและห้องหม้อแปลงจะต้องอยู่ในสถานที่ซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงเพื่อที่จะทำการตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษาหม้อแปลงได้โดยสะดวก หม้อแปลงที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายชนิดทั้งที่ติดตั้งภายในอาคาร ห้องหม้อแปลงหรือภายนอกอาคารมาตรฐานติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยของวสท. ได้มีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับการติดตั้งหม้อแปลงชนิดต่าง ๆ ไว้ดังนี้

1.1 หม้อแปลงชนิดแห้ง

ติดตั้งภายในอาคาร (Indoor)ต้องติดตั้งภายในห้องหม้อแปลงติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor)
– แรงดันไม่เกิน 33kV
– ขนาดไม่เกิน 112.5 kVA
– ห่างจากวัสดุติดไฟไม่น้อยกว่า
0.30 ม.
ยกเว้น
– กั้นด้วยแผ่นกั้นความร้อน
– อยู่ในเครื่องห่อหุ้มที่ปิดส่วนที่มีไฟฟ้าไว้มิดชิด
– แรงดันไม่เกิน 33kV
– ขนาดเกิน 112.5lkVA
ยกเว้น
– หม้อแปลงมีระบบอุณหภูมิฉนวน (Insulation system temperature) ไม่ต่ำกว่า 150 C ํ หรือสูงกว่าและกั้นด้วยแผ่นกั้นความร้อนหรือติดตั้งห่างจากวัสดุติดไฟได้ไม่น้อยกว่า 1.80 ม. ในแนวนอนและ 3.60 ม. ในแนวดิ่ง
– หม้อแปลงมีระบบทนอุณหภูมิของฉนวนไ่มต่ำกว่า 150 C ํ อยู่ในเครื่องห่อหุ้มส่วนที่มีไฟฟ้าไว้อย่างมิดชิด
– ต้องมีเครื่องห่อหุ้มที่ทนสภาพอากาศ
– หม้อแปลงทีมีขนาดเกิน 112.5 kVA ต้องติดตั้งห่างจากวัสดุติดไฟไม่น้อยกว่า 0.30 ม.

1.2 หม้อแปลงฉนวนของเหลวติดไฟได้

ติดตั้งภายในอาคารติดตั้งภายนอกอาคาร
– ต้องติดตั้งในห้องหม้อแปลง
ยกเว้น
– หม้อแปลงใช้กับเตาหลอมไฟฟ้ามีขนาดไม่เกิน 75kVA หากไม่อยู่ในห้องหม้อแปลงต้องมีรั้วล้อมรอบและระยะห่างระหว่างหม้อแปลงกับรั้วต้องไม่่น้อยกว่า 1.00 ม.
– หากติดตั้งหม้อแปลงใกล้กับวัสดุหรืออาคารที่ติดไฟได้หรือติดตั้งใกล้ทางหนีไฟ ประตู หรือหน้าต่าง ต้องมีการปิดกั้นเพื่อป้องกันไฟที่เกิดจากของเหลวของหม้อแปลงลุกลามไปติดวัสดุหรือส่วนของอาคารที่ติดไฟได้ส่วนที่มีไฟฟ้าด้านแรงสูงต้องอยู่ห่างจากโครงสร้างอื่นไม่น้อยกว่า 1.80 ม.

   1.3 หม้อแปลงฉนวนของเหลวติดไฟยาก

 ติดตั้งภายในอาคารติดตั้งภายนอกอาคาร
– อาคารที่ติดตั้งเป็นอาคารที่ติดไฟได้หรือมีวัสดุติดไฟได้ในพื้นที่ที่ติดตั้งหม้อแปลง หม้อแปลงต้องติดตั้งในหม้อหม้อแปลงหรือต้องมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติและมีการกั้นเก็บของเหลวที่ไหลออกมาโดยการทำบ่อพัก (SUMP) หรือทำที่กั้น
– อาคารที่ติดตั้งเป็นอาคารไม่ติดไฟตาม TYPE I และ TYPE II ตาม NFPA 220-1985 หรือเทียบเท่าและไม่มีวัสดุที่ติดไฟได้ในพื้นที่ติดตั้งหม้อแปลง ไม่ต้องมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติแต่ต้องมีการกั้นของเหลวซึ่งอาจไหลออกมา
– หม้อแปลงที่มีพิกัดแรงดันเกิน 33kV ต้องติดตั้งในห้องหม้อแปลงเท่านั้น
– หากติดตั้งหม้อแปลงใกล้กับวัสดุหรืออาคารที่ติดไฟได้หรือติดตั้งใกล้ทางหนีไฟ ประตู หรือหน้าต่าง ต้องมีการปิดกั้นเพื่อป้องกันไฟที่เกิดจากของเหลวของหม้อแปลงลุกลามไปติดวัสดุหรือส่วนของอาคารที่ติดไฟได้ส่วนที่มีไฟฟ้าด้านแรงสูงต้องอยู่ห่างจากโครงสร้างอื่นไม่น้อยกว่า 1.80 ม.

 1.4 หม้อแปลงฉนวนของเหลวไม่ติดไฟ

สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร และถ้าติดตั้งภายในอาคารต้องติดตั้งในห้องหม้อแปลงโดยรายละเอียดการติดตั้งเป็นไปตามหัวข้อห้องหม้อแปลง

2. ห้องหม้อแปลง

หลักในการพิจารณาในการออกแบบติดตั้งห้องหม้อแปลงของหม้อแปลงชนิดต่าง ๆ มีดังนี้

     2.1 ห้องหม้อแปลงสำหรับหม้อแปลงชนิดฉนวนของเหลวติดไฟและฉนวนของเหลวติดไฟยาก

– ตำแหน่งที่ตั้ง จะต้องติดตั้งอยู่ในสถานที่ที่สามารถขนย้ายหม้อแปลง เช้า – ออก ทั้งลูกได้ สามารถระบายอากาศสู่ภายนอกได้ หากใช้ท่อลมต้องเป็นชนิดทนไฟ ห้องหม้อแปลงต้องให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าถึงได้โดยสะดวกเพื่อการตรวจสอบและบำรุงรักษา6.2.2 
– ระยะห่าง ระยะห่างระหว่างหม้อแปลงกับผนังหรือประตูห้องหม้อแปลง ต้องมีระยะไม่น้อยกว่า 1.00 ม.ระยะห่างระหว่างหม้อแปลงไม่ต่ำกว่า 0.60 ม. ที่วางเพื่อปฏิบัติงานบริเวณเหนือที่ตั้งหม้อแปลงหรือเครื่องห่อหุ้มของหม้อแปลงต้องไม่ต่ำกว่า 0.60 ม.

รูปแสดงระยะห่างสำหรับหม้อแปลง 

– การระบายอากาศ ช่องระบายอากาศควรอยู่ห่างจากประตู หน้าต่าง ทางหนีไฟและวัสดุติดไฟได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อุณหภูมิภายในหม้อแปลงต้องไม่เกิน 40 C ํ การระบายความร้อนในห้องหม้อแปลงสามารถทำได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

ใช้ระบบหมุนเวียนอากาศธรรมชาติระบายความร้อนด้วยพัดลมระบายความร้อนด้วยเครื่องปรับอากาศ
– ช่องระบายอากาศต้องมีทั้งด้านเข้าและด้านออก
– พื้นที่ของช่องระบายอากาศแต่ละด้าน (เมื่อไม่ติดลวดตาข่าย) ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 0.001 ตร.ม./kVA ของหม้อแปลงที่ใช้งาน (kVATrans) และต้องไม่น้อยกว่า 0.05 ตร.ม. ปิดด้วยลวดตาข่าย
หมายเหตุ ตำแหน่งช่องอากาศเข้าต้องอยู่ใกล้พื้นห้องสูงไม่น้อยกว่า 0.10 ม. และด้านออกอยู่บนผนังด้านตรงข้ามใกล้เพดานหรือหลังคา

พื้นที่ช่องระบายอากาศ
(CVENT) ≥0.001 x (kVATrans)  (ตร.ม.)
– ช่องระบายอากาศด้านเข้าต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 0.001 ตร.ม./kVA และไม่น้อยกว่า 0.05 ตร.ม. ปิดด้วยลวดตาข่าย
– ด้านอากาศออกใช้พัดที่สามารถดูดอากาศออก 8.40 ลบ./ม./นาที/หนึ่งกิโลวัตน์ของค่ากำลังไฟฟ้าที่สูญเสียทั้งหมดของหม้อแปลงเมื่อมีโหลดเต็มที่ (kWLOSS)



ขนาดความจุพัดลม 
(CFAN) ≥8.40 x (kVALOSS)  (ลบ.ม./นาที)
– เครื่องปรับอากาศที่ใช้ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 3412 ฺBTU/หนึ่งกิโลวัตต์ของค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียทั้งหมดของหม้อแปลงเมื่อมีโหลดเต็มที่ (kWLOSS
– ไม่ต้องมีช่องระบายอากาศออก




ขนาดเครื่องปรับอากาศ 
(CAIR) ≥3412 x (kVALOSS)  (บีทียู/ชั่วโมง)

รูปแสดงระบบหมุนเวียนอากาศสำหรับห้องหม้อแปลง

2.2 ห้องหม้อแปลงสำหรับหม้อแปลงชนิดฉนวนของเหลวไม่ติดไฟ

ห้องหม้อแปลงนี้ใช้ข้อกำหนดเดียวกันกับหม้อแปลงไฟฟ้าฉนวนของเหลวติดไฟได้ แต่ต้องมีบ่อพัก และต้องสามารถระบายน้ำ น้ำมันหรือฉนวนของเหลวของหม้อแปลงที่อาจรั่วไหลออกจากห้องได้ และความหนาของผนังห้องหม้อแปลงให้เป็นดังนี้

          – คอนกรีตเสริมเหล็กต้องหนาไม่น้อยกว่า 65 มม.

          – อิฐทนไฟ คอนกรีต คอนกรีตบล็อก ต้องหนาไม่น้อยกว่า 100 มม. 

   2.3 ห้องหม้อแปลงสำหรับหม้อแปลงชนิดแห้ง

ห้องหม้อแปลงนี้ใช้ข้อกำหนดเดียวกันกับหม้อแปลงไฟฟ้าฉนวนของเหลวติดไฟได้ และไม่ต้องมีบ่อพักและท่อระบายของเหลว 

3. การติดตั้งบนเสาและนั่งร้านหม้อแปลง

การติดตั้งหม้อแปลงของการไฟฟ้า ฯ มี 3 แบบคือ

     3.1 แบบแขวน ใช้สำหรับติดตั้งหม้อแปลง 1 เฟส และ 3 เฟส ขนาดตั้งแต่ 10-160 kVA และสูงสุดได้ถึง 250kVA

รูปแสดงการติดตั้งหม้อแปลงแบบเเขวน

   3.2 แบบนั่งร้าน ใช้สำหรับติดตั้งหม้อแปลง 3 เฟส โดยแบ่งตามความสามารถในการรับน้ำหนักได้ 2 ขนาด คือ

          – ขนาดรับน้ำหนักได้ 4.5 ตัน

          – ขนาดรับน้ำหนักได้ 6.5 ตัน

     ซึ่งขนาดรับน้ำหนักของนั่งร้านหม้อแปลงจะต้องสอดคล้องกันทั้งหมดทั้งชุดนั่งร้านหม้อแปลงซึ่งได้แก่เสาไฟฟ้า คานและอุปกรณประกอบ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้า ฯ รวมถึงวิศวกรในสาขาที่เกี่ยวข้องรับรองความมั่นคงแข็งแรง

รูปแสดงการติดตั้งหม้อแปลงแบบนั่งร้าน

4. ลานหม้อแปลง (Transformer Yard)

ลานหม้อแปลง เป็นพื้นที่สำหรับติดตั้งหม้อแปลงที่อยู่ภายนอกอาคารซึ่งต้องอยู่ในที่ล้อมซึ่งอาจจะเป็นกำแพงหรือรั้วที่คล้องกุญแจ และให้เข้าได้เพื่อการตรวจสอบและบำรุงรักษาเฉพาะบุคคลหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ข้อกำหนดของหม้อแปลงบนลานหม้อแปลงมีดังนี้

     ที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน ส่วนที่มีไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าแรงสูงเหนือที่ว่างเพื่อปฏิบัติงานต้องอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2.75 เมตร หรือมีที่กั้น เพื่อป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยไม่ได้ตั้งใจ

     ระยะห่าง ระยะห่างตามแนวระดับระหว่างระหว่างรั้วหรือผนังกับส่วนที่มีไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าแรงสูงต้องไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร สำหรับแรงดันไม่เกิน 33kV  ระยะห่างตามแนวระดับระหว่างรั้วหรือผนังกับหม้อแปลงต้องไม่น้อยกว่า 1.00 เมตรระยะห่างระหว่างหม้อแปลงต้องไม่น้อยกว่า 0.60 เมตร

รูปแสดงตัวอย่างลานหม้อแปลง

5. การต่อลงดินของหม้อแปลงไฟฟ้า

  5.1 การต่อลงดินของระบบป้องกันฟ้าผ่า

     การต่อลงดินของระบบป้องกันฟ้าผ่าหรือที่เรียกกันว่ากับดักฟ้าผ่ามีไว้เพื่อป้องกันความเสียหายของระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าอันเนื่องจากฟ้าผ่า โดยอาศัยหลักการลดแรงดันไฟฟ้าเกินที่คร่อมบริภัณฑ์ไฟฟ้าให้เหลือน้อยที่สุด สำหรับการต่อลงดินที่หม้อแปลงจะติดตั้งที่ทางด้านแรงสูง สายต่อลงดินของกับดักฟ้าผ่าต้องต่อร่วมกับสายต่อลงดินของตัวถังหม้อแปลงและต้องให้สั้นที่สุดเพื่อลดแรงดันตกคร่อมในสายไฟฟ้า สายต่อลงดินนี้ต้องแยกต่างหากจากสายต่อลงดินของระบบไฟฟ้าด้านแรงต่ำ (สายเส้นที่มีการต่อลงดินหรือสายนิวทรัล) เพื่อป้องกันแรงดันเกินนี้ไปทำให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าเสียหาย

     5.2 การต่อลงดินของระบบไฟฟ้าของหม้อแปลง

     ผู้ใช้ไฟฟ้าที่รับไฟแรงสูงจากการไฟฟ้าฯ ซึ่งต้องมีการติดตั้งหม้อแปลง ทางด้านไฟออกแรงต่ำต้องมีการต่อลงดิน สายเส้นที่มีการต่อลงดินนี้เรียกว่าสายนิวทรัล และสายนิวทรัลนี้จะต้องเดินไปยังแผงเมนสวิตช์แรงต่ำไม่ว่าจะใช้งานหรือไม่ก็ตามและต้องต่อลงดินที่แผงเมนสวิตช์นี้ ในกรณีที่หม้อแปลงติดตั้งอยู่ ภายนอกอาคารมาตรฐานฯ กำหนดให้ต้องต่อลงดินเพิ่มอีกอย่างน้อยอีกหนึ่งจุด ทางด้านไฟออกของหม้อแปลง ณ.จุดที่ติดตั้งหม้อแปลงหรือจุดอื่นที่เหมาะสมภายนอกอาคาร

รูปแสดงการต่อลงดินของระบบไฟฟ้าของหม้อแปลงที่อยู่ภายนอกอาคาร

6. แบบฟอร์ม Commissioning  จะใช้ของ Supplier ที่ขายและติดตั้งอุปกรณ์