ชนิดของแผงโซล่าเซลล์
1. แผงโซลาร์เซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline)
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้มีจุดสังเกตคือ แผงจะมีสีดำสนิท และบางผลิตภัณฑ์จะถูกตัดมุมออก
- ผลิตไฟฟ้าได้ดีเพราะเป็นซิลิกอนชนิดผลึกเดี่ยวที่มีความบริสุทธิสูง
- มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้ดีมากกว่าแผงชนิด Poly crystalline ในสภาพแสงน้อย
- ราคาต่อวัตต์มักแพงกว่าแผงชนิด Poly crystalline
- ดังนั้นแผงชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีราคาแพงมากกว่า
2. แผงโซลาร์เซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Poly crystalline)
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้มีจุดสังเกตคือ แผงจะมีสีน้ำเงิน
- ผลิตไฟฟ้าได้ดีไม่เท่าแผงชนิด Mono crystalline เพราะใช้ผลึกชนิดรวมมีกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน ใช้ปริมาณซิลิกอนในการผลิตน้อยกว่า
- มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้ต่ำกว่าแผงชนิด Mono crystallin
- ราคาต่อวัตต์ถูกกว่าแผงชนิด Mono crystalline
- ปัจจุบันแผงชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าแผงชนิด Mono crystalline แต่ราคาต่างกันไม่มาก
3. แผงโซลาร์เซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film)
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้มีเทคโนโลยีในการผลิตที่แตกต่างจากแบบ Crystalline ที่กล่าวมา และมีทั้งเทคโนโลยีแบบ Amorphous Silicon หรือแบบอื่นเช่น CIGS
- คุณสมบัติที่สำคัญของแผงชนิดนี้คือความไวต่อแสงเป็นพิเศษ
- แผงโซลาร์เซลล์ชนินี้เหมาะสมกับพื้นที่สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากด้วยคุณสมบัติทางไฟฟ้าของแผงเอง ทำให้ค่าความสูญเสียต่ออุณหภูมิความร้อนต่ำกว่าแผงชนิดอื่น และราคาก็จะแพงที่สุดเมื่อเทียบกับพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อพื้นที่ ที่เท่ากัน
- ตัวอย่างของเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้ในการให้พลังงาน
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของแผงชนิดต่างๆ
รายละเอียด / ชนิด | โมโนคริสตัลไลน์ | โพลีคริสตัลไลน์ | ฟิล์มบาง |
ราคาต่อวัตต์ | สูง | ต่ำ | สูงสุด |
ความไวต่อแสง | สูง | ต่ำ | สูงสุด |
ประสิทธิภาพต่อขนาด | สูง | ต่ำ | ต่ำสุด |
ค่าความสูญเสียต่อความร้อน* (ยังคงผลิตไฟฟ้าได้ดีที่อุณหภูมิสูง) | ต่ำ | สูงสุด | ต่ำสูง |
*Temperature Coefficient
แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Half cell
- เทคโนโลยีแบบ half cell ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อลดการ สูญเสียของแผงให้น้อยลง โดยใช้หลักการในการลดกำลัง การผลิตไฟฟ้าในแต่ละเซลล์ลงครึ่งหนึ่ง แต่เพิ่มจำนวน เซลล์ให้มากขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าจึง มีค่าเท่าเดิม แต่จำนวนเซลล์ในแผงจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
- อดีของแผงชนิดนี้ก็คือเมื่อเซลล์ใดถูกเงาบัง ความสูญเสีย ก็จะน้อยลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับแผงชนิดปรกติ หรือแบบ เต็มเซลล์ และข้อดีอีกอย่างของแผงชนิดนี้คือ ความร้อน สะสมที่เกิดจากการสร้างพลังงานไฟฟ้าในแต่ละเซลล์จะ ลดลงทำให้โอกาสที่แผงจะร้อนจนเกิดไหม้ไฟจึงยากขึ้น