พื้น

พื้นเป็นรากฐานที่สำคัญของทุกๆสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคาร ฯลฯ พื้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ในหัวข้อนี้จะขอยกตัวอย่างดังนี้   

  • พื้นกระเบื้อง
  • พื้นกระเบื้องยาง
  • พื้นสีกันไฟฟ้าสถิตย์

    พื้นกระเบื้อง

การแบ่งกระเบื้องปูพื้นตามวัสดุที่ใช้ในการผลิตแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆดังต่อไปนี้

  • กระเบื้องเซรามิค
  • กระเบื้องโมเสค
  • กระเบื้องแกรนิตโต้
  • กระเบื้องหินอ่อน
  • กระเบื้องดินเผา
  • กระเบื้องแก้ว
 กระเบื้องเซรามิค
กระเบื้องแกรนิตโต
กระเบื้องหินอ่อน
กระเบื้องดินเผา
กระเบื้องโมเสค, กระเบื้องแก้ว

ที่มาของรูปภาพ https://www.boonthavorn.com/home-decoration-tips/wall-floor/tileselection



    พื้นกระเบื้องยาง

วัสดุปูพื้นอีกประเภทหนึ่ง ที่ผลิตโดยใช้ยางเป็นวัสดุในการผลิต เพื่อที่จะให้มีคุณสมบัติเหมือนแผ่นยาง เหมาะสำหรับไว้ใช้ในบริเวณที่ต้องใช้งานหนัก เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงยิม ฟิตเนส เนื่องจากกระเบื้องยางหากเราดูแลรักษาดีๆ มันสามารถอยู่ได้นานเกิน 20 ปี กระเบื้องยางเหมาะสำหรับรับแรงกระแทก และปูได้สะดวกรวดเร็วกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ ที่มีความแข็งแรงพอกัน หากต้องการนำกระเบื้องยาง มาปูพื้น ควรเลือกชนิดและแบบให้เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันกระเบื้องยางมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ตามความชอบ เช่น แบบแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วไป มีขนาด 6 x 6 นิ้ว, 9 x 9 นิ้ว และ 12 x 12 นิ้ว หนา 3-4 มิลลิเมตร มีสีและลวดลาย ให้เลือกมากมาย ทั้งสีพื้น ลายแฟนซี ลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ สีลายหินแกรนิต เป็นต้น

คุณสมบัติส่วนใหญ่ของกระเบื้องยาง คือ ป้องกันความชื้น ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อรา ที่สำคัญติดตั้งและดูแลรักษาง่าย

ที่มาของรูปภาพ https://www.baanlaesuan.com/105115/maintenance/vinyl_floor


พื้นสีกันไฟฟ้าสถิตย์

เป็นสารยางสังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง Epoxy กับ Polyamine ซึ่งเรา นำมาใช้ในงานเคลือบพื้นเพราะมีข้อดีด้านการทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมี และน้ำมันได้ดี มีความมัน เงาและสีสันที่หลากหลาย พื้น Epoxy เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการทำเป็นพื้นโรงงานมาตรฐานสากล พื้นโรงงานกว่า 80% เลือกใช้สีอีพ็อกซี่ สี Epoxy มีความโดดเด่นกว่าสีเคลือบพื้นคือความทนทานต่อการใช้งาน “Durability” และการยึดเกาะกับพื้นคอนกรีตได้ดี 

เราสามารถแบ่งพื้นอี่พ็อกซี่ออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะกระบวนการใช้งาน คือ พื้น Epoxy Coating, พื้น Epoxy Self Leveling, พื้น Epoxy กันลื่นและพื้น Heavy Duty Epoxy ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

ที่มาของรูปภาพ http://jr-paint.com/2019/04/23/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99-epoxy-%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99-pu-%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99-floor-hardener-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95/

พื้น Epoxy Coating

พื้น Epoxy Coating เป็นการเคลือบสีพื้นด้วยการกลิ้งด้วยลูกกลิ้ง เป็นระบบพื้นอีพ็อกซี่ที่ทำง่ายที่สุด สามารถทำได้ด้วยตัวเอง สามารถทำความหนาของฟิล์มสีได้ตั้ง 300 ไปจนถึง 1,500 ไมครอน ขึ้นอยู่กับความต้องการ และการใช้งานเป็นหลักและสามารถมีให้เลือกทั้งแบบผิวเรียบและผิวแบบกันลื่น พื้น Epoxy Coating มีข้อดี คือใช้เวลาในการทำสั้นและราคาถูกสามารถเลือกสีได้ตามต้องการ แต่ยังคงรักษาคุณสมบัติหลักของพื้นอีพ็อกซี่ไว้ได้ เช่น ทนทานต่อสารเคมีและน้ำมัน เราสามารถใช้ได้ในพื้นโรงงานอุตสาหกรรมเบา สำนักงาน Warehouse Workshop ห้องทดลองและโชร์รูมรถยนต์ เป็นต้น

พื้น Epoxy Self Leveling

พื้น Epoxy Self Leveling เป็นการเคลือบสีพื้นอีพ็อกซี่ด้วยการปาดด้วยเกียงโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้น พื้นที่ได้จะมีความเงางามเป็นพิเศษเพราะคุณสมบัติการปรับผิวด้วยตัวมันเอง ทำให้พื้นที่ได้มีลักษณะเงาและสะท้อนเหมือนน้ำทะเล  สามารถทำความหนาของฟิล์มสีได้ตั้งแต่ 2 ไปจนถึง 10 มิลลิเมตร ขึ้นกับลักษณะการใช้งาน เช่น แบบความหนา 2 มิลลิเมตรเหมาะสำหรับทำพื้น Office แต่ความหนา 3-5 มิลลิเมตรเหมาะกับพื้นที่ต้องรองรับโหลดของรถโฟล์คลิฟขนาด 2-4 ตัน เป็นต้น  ซึ่งการใช้งานแต่ละความหนาก็เหมาะสำหรับพื้นแต่ละประเภท สามารถมีให้เลือกที้งผิวเรียบและผิวส้มแบบกันลื่น (Non-slip) พื้น Epoxy Self Leveling มีข้อดี คือมีความทนทานต่อการใช้งานหนัก อายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี สามารถเลือกสีได้ ตามต้องการ คุณสมบัติหลักของพื้นอีพ็อกซี่ คือ ทนทานต่อกรด-ด่าง สารเคมีและน้ำมัน  เราสามารถใช้ได้ในสำนักงาน Warehouse Workshop ห้องทดลองและโชร์รูมรถยนต์ รวมไปถึงพื้นโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

พื้นอีพ็อกซี่กันลื่น (Non-slip Epoxy floors)

พื้นอีพ็อกซี่กันลื่น (Non-slip Epoxyfloors) มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น พื้นกันลื่น, safety Floor, พื้น non-slip ตามแต่จะเรียกกัน แต่ที่นิยมคือ พื้น non-slip ซึ่งพื้นประเภทนี้ถูกออกแบบมาสำหรับพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะ เกิดการลื่น เช่น ทางเดิน บรรได พื้นโรงงานที่เปียกน้ำและพื้นที่เปื้อนน้ำมันหรือจาระบี เป็นต้น โดยพื้นจะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ จะมีความยืดหยุ่นสูงเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานระหว่ารองเท้ากับพื้น ซึ่งลักษณะฟิล์มสีที่ได้จะมีความหยาบเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสีพื้น epoxy self leveling แต่ยังคงรัษาความมันเงาเหมือนเดิม สีพื้นอีพ็อกซี่สามารถประยุกต์และใช้งานได้อย่างหลากหลายพื้นที่

พื้น Heavy Duty Epoxy

สี Epoxy ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานอุตสาหกรรมหนัก เช่นพื้นที่ที่มีการใช้งาน รถโฟล์คลิฟท์ และ สารเคมีที่มีการกัดกร่อนรุนแรง พื้น Epoxy สามารถใช้ในโรงงานผลิตสารเคมี ปิโตเลี่ยม และกรด ด่าง ต่างๆได้ดี