พื้น
พื้นเป็นรากฐานที่สำคัญของทุกๆสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคาร ฯลฯ พื้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ในหัวข้อนี้จะขอยกตัวอย่างดังนี้
- พื้นกระเบื้อง
- พื้นกระเบื้องยาง
- พื้นสีกันไฟฟ้าสถิตย์
พื้นกระเบื้อง
การแบ่งกระเบื้องปูพื้นตามวัสดุที่ใช้ในการผลิตแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆดังต่อไปนี้
- กระเบื้องเซรามิค
- กระเบื้องโมเสค
- กระเบื้องแกรนิตโต้
- กระเบื้องหินอ่อน
- กระเบื้องดินเผา
- กระเบื้องแก้ว
ที่มาของรูปภาพ https://www.boonthavorn.com/home-decoration-tips/wall-floor/tileselection
พื้นกระเบื้องยาง
วัสดุปูพื้นอีกประเภทหนึ่ง ที่ผลิตโดยใช้ยางเป็นวัสดุในการผลิต เพื่อที่จะให้มีคุณสมบัติเหมือนแผ่นยาง เหมาะสำหรับไว้ใช้ในบริเวณที่ต้องใช้งานหนัก เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงยิม ฟิตเนส เนื่องจากกระเบื้องยางหากเราดูแลรักษาดีๆ มันสามารถอยู่ได้นานเกิน 20 ปี กระเบื้องยางเหมาะสำหรับรับแรงกระแทก และปูได้สะดวกรวดเร็วกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ ที่มีความแข็งแรงพอกัน หากต้องการนำกระเบื้องยาง มาปูพื้น ควรเลือกชนิดและแบบให้เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันกระเบื้องยางมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ตามความชอบ เช่น แบบแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วไป มีขนาด 6 x 6 นิ้ว, 9 x 9 นิ้ว และ 12 x 12 นิ้ว หนา 3-4 มิลลิเมตร มีสีและลวดลาย ให้เลือกมากมาย ทั้งสีพื้น ลายแฟนซี ลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ สีลายหินแกรนิต เป็นต้น
คุณสมบัติส่วนใหญ่ของกระเบื้องยาง คือ ป้องกันความชื้น ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อรา ที่สำคัญติดตั้งและดูแลรักษาง่าย
ที่มาของรูปภาพ https://www.baanlaesuan.com/105115/maintenance/vinyl_floor
พื้นสีกันไฟฟ้าสถิตย์
เป็นสารยางสังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง Epoxy กับ Polyamine ซึ่งเรา นำมาใช้ในงานเคลือบพื้นเพราะมีข้อดีด้านการทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมี และน้ำมันได้ดี มีความมัน เงาและสีสันที่หลากหลาย พื้น Epoxy เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการทำเป็นพื้นโรงงานมาตรฐานสากล พื้นโรงงานกว่า 80% เลือกใช้สีอีพ็อกซี่ สี Epoxy มีความโดดเด่นกว่าสีเคลือบพื้นคือความทนทานต่อการใช้งาน “Durability” และการยึดเกาะกับพื้นคอนกรีตได้ดี
เราสามารถแบ่งพื้นอี่พ็อกซี่ออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะกระบวนการใช้งาน คือ พื้น Epoxy Coating, พื้น Epoxy Self Leveling, พื้น Epoxy กันลื่นและพื้น Heavy Duty Epoxy ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
พื้น Epoxy Coating
พื้น Epoxy Coating เป็นการเคลือบสีพื้นด้วยการกลิ้งด้วยลูกกลิ้ง เป็นระบบพื้นอีพ็อกซี่ที่ทำง่ายที่สุด สามารถทำได้ด้วยตัวเอง สามารถทำความหนาของฟิล์มสีได้ตั้ง 300 ไปจนถึง 1,500 ไมครอน ขึ้นอยู่กับความต้องการ และการใช้งานเป็นหลักและสามารถมีให้เลือกทั้งแบบผิวเรียบและผิวแบบกันลื่น พื้น Epoxy Coating มีข้อดี คือใช้เวลาในการทำสั้นและราคาถูกสามารถเลือกสีได้ตามต้องการ แต่ยังคงรักษาคุณสมบัติหลักของพื้นอีพ็อกซี่ไว้ได้ เช่น ทนทานต่อสารเคมีและน้ำมัน เราสามารถใช้ได้ในพื้นโรงงานอุตสาหกรรมเบา สำนักงาน Warehouse Workshop ห้องทดลองและโชร์รูมรถยนต์ เป็นต้น
พื้น Epoxy Self Leveling
พื้น Epoxy Self Leveling เป็นการเคลือบสีพื้นอีพ็อกซี่ด้วยการปาดด้วยเกียงโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้น พื้นที่ได้จะมีความเงางามเป็นพิเศษเพราะคุณสมบัติการปรับผิวด้วยตัวมันเอง ทำให้พื้นที่ได้มีลักษณะเงาและสะท้อนเหมือนน้ำทะเล สามารถทำความหนาของฟิล์มสีได้ตั้งแต่ 2 ไปจนถึง 10 มิลลิเมตร ขึ้นกับลักษณะการใช้งาน เช่น แบบความหนา 2 มิลลิเมตรเหมาะสำหรับทำพื้น Office แต่ความหนา 3-5 มิลลิเมตรเหมาะกับพื้นที่ต้องรองรับโหลดของรถโฟล์คลิฟขนาด 2-4 ตัน เป็นต้น ซึ่งการใช้งานแต่ละความหนาก็เหมาะสำหรับพื้นแต่ละประเภท สามารถมีให้เลือกที้งผิวเรียบและผิวส้มแบบกันลื่น (Non-slip) พื้น Epoxy Self Leveling มีข้อดี คือมีความทนทานต่อการใช้งานหนัก อายุการใช้งานมากกว่า 5 ปี สามารถเลือกสีได้ ตามต้องการ คุณสมบัติหลักของพื้นอีพ็อกซี่ คือ ทนทานต่อกรด-ด่าง สารเคมีและน้ำมัน เราสามารถใช้ได้ในสำนักงาน Warehouse Workshop ห้องทดลองและโชร์รูมรถยนต์ รวมไปถึงพื้นโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
พื้นอีพ็อกซี่กันลื่น (Non-slip Epoxy floors)
พื้นอีพ็อกซี่กันลื่น (Non-slip Epoxyfloors) มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น พื้นกันลื่น, safety Floor, พื้น non-slip ตามแต่จะเรียกกัน แต่ที่นิยมคือ พื้น non-slip ซึ่งพื้นประเภทนี้ถูกออกแบบมาสำหรับพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะ เกิดการลื่น เช่น ทางเดิน บรรได พื้นโรงงานที่เปียกน้ำและพื้นที่เปื้อนน้ำมันหรือจาระบี เป็นต้น โดยพื้นจะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ จะมีความยืดหยุ่นสูงเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานระหว่ารองเท้ากับพื้น ซึ่งลักษณะฟิล์มสีที่ได้จะมีความหยาบเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสีพื้น epoxy self leveling แต่ยังคงรัษาความมันเงาเหมือนเดิม สีพื้นอีพ็อกซี่สามารถประยุกต์และใช้งานได้อย่างหลากหลายพื้นที่
พื้น Heavy Duty Epoxy
สี Epoxy ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานอุตสาหกรรมหนัก เช่นพื้นที่ที่มีการใช้งาน รถโฟล์คลิฟท์ และ สารเคมีที่มีการกัดกร่อนรุนแรง พื้น Epoxy สามารถใช้ในโรงงานผลิตสารเคมี ปิโตเลี่ยม และกรด ด่าง ต่างๆได้ดี