Green Tips
Green Tip 2a OPTIMIZE SUPPLY AIR TEMPERATURES การปรับแต่งค่าอุณหภูมิ Supply Air Temperature สำหรับ Data Center
Set point ค่าอุณหภูมิและความชื้น ASHRAE
Thermal Guidelines for Data Processing Environments (ASHRAE 2009a) แนะนำอุณหภูมิอากาศเข้า IT Equipment(Server) เมื่อเปิดเครื่องอยู่ระหว่าง 18°C to 27°C
ASHRAE แนะนำให้ Operate Data Center ที่อุณหภูมิด้านสูงเพื่อประหยัดพลังงาน
- กรณีเครื่องปรับอากาศแบบ DX การเพิ่มอุณหภูมิ Supply Air Temperature จะทำให้ประสิทธิภาพของ Compressor สูงขึ้น
- กรณีระบบปรับอากาศแบบ Chilled water การเพิ่มอุณหภมิ Supply Air Temperature จะช่วยให้สามารถปรับอุณหภูมิน้ำเย็นให้สูงขึ้น การทำแบบแบบนี้จะช่วยให้ประสิทธิภาพของ Chiller สูงขึ้น แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานที่น้ำเย็นต้องใช้งานร่วมกับอาคารหรือพื้นที่อื่นๆ เช่น สำนักงาน เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติม Green Tip 4f
ใน Data Center บ่อยครั้งที่ Supply Air ผสมกับอากาศร้อนที่ออกจาก IT Equipment การผสมกันดังกล่าวจะส่งผลให้
- อุณหภูมิด้านเข้าอุณหภูมิอากาศเข้า IT Equipment(Server) สูงกว่าอุณหภมิ Supply air จากเครื่องปรับอากาศ
- อุณหภมิด้านกลับของเครื่องปรับอากาศ(Return Air) มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิด้านออกของ IT Equipment ( IT equipment discharge temperature)
ASHRAE แนะนำให้ดำเนินการดังนี้
- ปรับปรุงให้มี Air Management ที่ดี Green Tip 3a และ Green Tip 3bเพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มอุณหภูมิ Supply Air ในที่สุด
- ต้องมี Facility Audit เพื่อให้มั่นใจว่า อากาศเข้า IT Equipment(Server) อยู่ภายใต้เงื่อไขของ Thermal Guidelines for Data Processing Environments (ASHRAE 2009a)
- กรณีใช้ CRAC สำหรับ Data Center ควรปรับตำแหน่ง Sensor โดยทำการติดตั้งที่ตำแหน่ง Supply Air แทนที่จะเป็น Return air เหมือนในอดีต
ต้องระลึกเสมอว่าอุปกรณ์ Server จำนวนมาก จะเริ่มต้องการ Air Flow อย่างมากเมื่ออุณหภูมิ
อากาศเข้า IT Equipment(Server) สูงขี้นเกิน 25 °C (การเพิ่มของ Air Flow ทำให้พัดลมใน Server กินไฟฟ้ามากขึ้น หรือใช้ไฟฟ้าจาก UPS มากขึ้นนั่นเอง) ในบางกรณีการเพิ่มการใช้พลังงานของ Server เนื่องจากการที่เราปรับ Set Point ให้สูงขึ้นนั้น อาจจะมากกว่าพลังงานที่เราจะประหยัดได้จากการทำความเย็นก็เป็นได้ หรือทำให้ค่า PUE สูงขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นเราจึงควรตรวจสอบข้อมูลจากผู้ผลิต Server หรือทำการทดลองจริงที่ไซท์งานเลย เพื่อให้มั้นใจว่าการ Optimized Supply Air Temperature นั่น ได้นำเอาทั้ง IT Equipment และ Cooling มาเป็นตัวแปรในการพิจารณา
ใช้ที่ไหน/ใช้เมื่อไหร่ (WHEN/WHERE IT IS APPLICABLE)
แนะนำให้ใช้การ Optimized Supply Air Temperature สำหรับทุก Datacom Facilities แต่อาจมีข้อจำกัดสำหรับการใช้งานที่น้ำเย็นต้องใช้งานร่วมกับอาคารหรือพื้นที่อื่นๆ เช่น สำนักงาน เป็นต้นPros and Cons
Pros
- การเพิ่มอุณหภูมิ Supply Air จะนำไปสูงการเพิ่มประสิทธิภาพของ Chiller และ Compressor
- การทำงานที่อุณหภูมิสูงทำให้เรามีโอกาสใช้เครื่องปรับอากาศที่จำนวน และขนาดลดลง
Con
- การเพิ่มอุณหภูมิ Supply Air ต้องตรวจสอบจุดที่มีปัญหาเรื่อง Hot Spot เดิมก่อนที่จะมีการปรับเพิ่มอุณหภูมิ
- การเพิ่มอุณหภูมิ Supply Air จะทำให้ความสามารถในการดึงความชื้นของ Coil เย็นลดลง ดังนั้นต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าการใช้พลังงานในการลดค่าความชื้นก็ถูกนำมาร่วมพิจารณาด้วย
- จำทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ค่อยสบายตัว เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น โดยเฉพาะการปฏิบัติงานใน Hot Aisle
- การเพิ่มอุณหภูมิ Supply Air จะทำให้ Server กินไฟฟ้าเยอะขึ้น
ข้อแนะนำอื่นๆ
การปรับค่า Supply Air Temperature แนะนำให้ปรับทีละ 1-2 องศา โดยต้องทำการตรวจสอบและ Monitor อย่างใกล้ชิด โดยต้องตรวจสอบทั้ง อุณหภูมิและความชื้นอากาศเข้า IT Equipment(Server) อยู่ภายใต้เงื่อไขของ Thermal Guidelines for Data Processing Environments (ASHRAE 2009a) และต้องได้ค่า PUE ที่ต่ำลง
Green Tip 4f OPTIMIZE CHILLED-WATER AND CONDENSER-WATERSUPPLY TEMPERATURES