งานติดตั้ง
คู่มือการติดตั้ง Tate Containment (1) (2) <<< Click
คู่มือการติดตั้ง Modulan (1) <<< Click
วิดีโอสอนติดตั้ง RACK Modulan <<< Click
การติดตั้งสายคอมพิวเตอร์ UTP/FIBER OPTIC
บทที่ 1 บทนำ
บทนำ
วัตถุประสงค์ของเอกสารฉบับนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน การติดตั้งระบบเครือข่ายสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ และระบบที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยรายละเอียดต่าง ๆ ที่อยู่ในเอกสารชุดนี้ประกอบด้วย
– วิธีการติดตั้งสายสัญญาณ UTP
– มาตรฐานที่ใช้ในการติดตั้งสายสัญญาณ UTP
– ขั้นตอนการติดตั้งสายสัญญาณ UTP
– วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานติดตั้งสายสัญญาณ UTP
– กระบวนการทดสอบสายสัญญาณ UTP
– ขั้นตอนของการส่งมอบงาน
– การรับประกัน
นอกจากกระบวนการติดตั้งสายสัญญาณ UTP จะบรรจุอยู่ในเอกสารชุดนี้แล้ว การเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งเพื่อตรวจสอบความพร้อมหน้างานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งย่อมประกอบเป็นส่วนหนึ่งในเอกสานี้เช่นกัน
บทที่ 2 ขอบเขตงาน
ระบบเครือข่าย (Network) คือ กลุ่มของเทคโนโลยี (ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ตัวกลาง และอื่นๆ) ที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถติดต่อสื่อสารกัน และเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างกัน และใช้แหล่งข้อมูลร่วมกันแบบเรียลไทม์ (real time)
ในปัจจุบันองค์กรบางองค์กรใช้ระบบรวมศูนย์กลาง คือ ใช้เครื่องเมนเฟรมและเครื่องเทอร์มินัล แต่ในขณะเดียวกันระบบธุรกิจและโรงเรียนจำนวนมากได้เปลี่ยนจากระบบรวมศูนย์กลางเป็นระบบเครือข่ายแบบใช้เครื่องพีซี เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่าการใช้เครื่องเมนเฟรมร่วมกับเครื่องเทอร์มินัล
บทที่ 3 วัสดุและอุปกรณ์การติดตั้ง
3.1 คุณสมบัติสายสัญญาณ UTP
– สายสัญญาณที่ใช้ในโครงการทุกอย่างเป็นชนิด Category 6A สามารถรองรับการรับส่งสัญญาณได้ตามมาตรฐานกำหนดไว้ ซึ่งได้แก่
o IEEE 802.3
o Ethernet 10BASE-T
o Ethernet 100BASE-T
o Ethernet 1000BASE-T
– ภายในสายสัญญาณประกอบด้วย สายทองแดงจำนวน 4 คู่ตีเกลียวแต่ละคู่กัน
– ความต้านทานสายสัญญาณอยู่ที่ 100 Ohm
– มีฉนวนเป็น PVC ตีเกลียวเป็นคู่ มาตรฐาน TIA/EIA 568B Category 6, ISO/IEC 11801-1995 และ EN 50173
– สามารถรองรับการทดสอบได้ที่ความถี่ 500 MHz
– สามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิ -20 to 60 Degree C ในช่วง Operation และเป็นไปตามมาตรฐาน TIA/EIA
– ค่า Minimum NEXT (Near End Cross Talk) ไม่ต่ำกว่า 41 dB @ 250 MHz. และ 39 dB @ 350 MHz.
– ค่า Maximum Attenuation จะต้องไม่เกินกว่า 32.8 dB/100m @ 250 MHz. และ 40 dB/100m @ 350 MHz.
– ค่า Minimum Return Loss จะต้องไม่ต่ำกว่า 17.3 dB @ 250 MHz. และ 16.3 dB @ 350 MHz.
เกี่ยวกับมาตรฐานทางด้านการป้องกัน อัคคีภัย (NFPA) ของสายสัญญาณที่มีตัวนำจากทองแดง Copper(UTP, FTP) มี 3 ประเภทดังนี้
1.CM (Communication Metallic) เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น การติดตั้ง สายแนวราบหรือ ภายในชั้่นเดียวกัน เพราะเป็นสายที่มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ ในแนวราบ เท่านั้น
2.CMR (Communication Metallic Riser) เป็นสายที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในแนวดิ่งและ แนวราบ เช่น การเดิน สายสัญญาณระหว่างชั้นในอาคาร โดยผ่านช่องเดินสายของตัวอาคาร มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ ทั้งแนวราบและ แนวดิ่ง เพื่อไม่ให้ลามไฟจากล่างไปสู่ชั้นบน โดย Riser อาจหมายถึง ทาง, ราง, ช่องเดินสายระหว่างชั้นในอาคาร
3.CMP (Communication Metallic Plenum) เป็นสายที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในการเดินสายในฝ้าเพดาน โดยไม่ต้องร้อยท่อ ซึ่งรวมถึงท่อแอร์ ทั้งลมเย็น ลมร้อน และ ลมย้อนกลับ ถ้าจะเปรียบเทียบกับสถานที่ในสำนักงานทั่วไป Plenum ก็คือ ช่องว่างระหว่างฝ้ากับเพดานอาคาร
3.2 คุณสมบัติเต้ารับ (Modular Outlet)
– เป็นแบบ Modular RJ45 8 Pins ตามมาตรฐาน EIA/TIA Cate.6 บนT568A หรือ T568B
– ได้รับมาตรฐาน ANSI/TIA/EIA-568-B.2-1,ISO/IEC 11801
– ผ่านการทดสอบโดยมาตรฐาน ANSI/TIA/EIA 568-B.2-1 Category6
– คุณสมบัติทางด้านสัญญาณไฟฟ้าดังนี้
o NEXT มีค่าไม่น้อยกว่า 54.0 dB @ 100 MHz. และ 46.0 dB @ 250 MHz.
o Attenuation มีค่าไม่มากกว่า 0.2 dB @ 100 MHz. และ 0.32 dB @ 250 MHz.
o Return Loss มีค่าไม่น้อยกว่า 24 dB @ 100 MHz. และ 16 dB @ 250 MHz.
3.3 คุณสมบัติสายเชื่อมต่อ (Patch Cord)
– เป็นสาย Patch Cord ชนิด UTP Category 6
– หัวสายเป็นแบบ RJ45 ทั้งสองปลาย และเป็นไปตามมาตรฐานของ FCC
– Part 68 และ IEC 603-7
– บริเวณหัวสาย RJ45 จะมี Boot ยางคลุมและกำหนดสัญลักษณ์สีต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐาน UL เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการต่อเข้ากับ Patch Panel
– สายเชื่อมต่อได้รับมาตรฐาน ANSI/TIA/EIA-568-B.2-1,ISO/IEC 11801
– มี Jacket เป็นชนิด CM Rate
3.4 คุณสมบัติแผงพักสายสัญญาณ UTP (UTP Patch Panel)
– เป็นแผงพักสายที่ติดตั้งเข้ากับตู้ RACK มาตรฐานขนาด 19 นิ้ว ได้
– รองรับการเชื่อมสายสัญญาณ UTP ได้จำนวน 24 หัว
3.5 คุณสมบัติแผงจัดระเบียบสายสัญญาณ UTP (Cable Management)
– สามารถติดตั้งบนตู้ Rack ขนาดมาตรฐาน 19 นิ้วได้ โดยมีขนาดความสูงเท่ากับ 1 U
3.6 เครื่องมือเข้าหัว RJ-45 ตัวผู้
3.7 เครื่องมือเข้า Patch Panel
3.8 เครื่องมือทดสอบสายสัญญาณ UTP
3.9 ตู้อุปกรณ์สื่อสารแบบตั้งพื้น (Rack 19”)
3.10 ตู้อุปกรณ์สื่อสารแบบแขวน (Wall Rack)
บทที่ 4 การเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งสายสัญญาณ UTP
การเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งสายสัญญาณ UTP มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากหน้างานไม่พร้อม ทีมงานในการดำเนินงานไม่พร้อม หรือความไม่พร้อมของเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินการ จะทำให้การติดตั้งสายสัญญาณ UTP เกิดความล่าช้าโดยไม่จำเป็น
4.1 Site Preparation
– ทีมงานติดตั้งจะประกอบไปด้วย Engineer, Technician
– ก่อนการติดตั้ง Wire way, ท่อร้อยสาย (Conduit) และสายสัญญาณ UTP ควรต้องทำการสำรวจหน้างานหรือสถานที่ติดตั้งจริงที่จะดำเนินการติดตั้งเพื่อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมในการติดตั้งและรวมไปถึงการคาดการณ์อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมหน้างาน
4.2 การจัดเตรียมทีมงานในการสำรวจความเรียบร้อยหน้างาน เนื่องจากการติดตั้งสายสัญญาณ UTP ต้องเดินสายสัญญาณลงในราง Wire way หรือท่อร้อยสาย (Conduit) ดังนั้นการสำรวจความพร้อมของราง Wire way หรือท่อร้อยสาย (Conduit) ในเส้นทางที่เลือกใช้เพื่อเดินสายสัญญาณ UTP จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อม ข้อควรระวังในการสำรวจความพร้อมราง Wire way ประกอบด้วย
– ความกว้างและความสูงของราง Wire way เพียงพอกับจำนวนสายสัญญาณ UTP ที่จะทำการติดตั้งในราง Wire way นั้น ๆ
– การประกอบราง Wire way ต้องสนิทเข้าหากันเพื่อป้องกันสัตว์กัดเทาะขนาดเล็ก และการบาดของฉนวนหุ้มสายสัญญาณ
– ราง Wire way ไม่ควรเดินคู่ไปกับสายไฟฟ้าแรงสูงเพราะอาจทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในสายสัญญาณ UTP ได้
โดยบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการสำรวจราง Wire way และท่อร้อยสาย (Conduit) ประกอบด้วย
– วิศวกรผู้ควบคุมงานติดตั้งจำนวน 1 คน
– เจ้าหน้าที่ทำ Site Survey จำนวน 1 คน
– ช่างเทคนิค จำนวน 1 คน
4.3 การจัดเตรียมทีมงานติดตั้งสายสัญญาณ UTP
การจัดเตรียมทีมงานติดตั้งสายสัญญาณ UTP ต้องให้เพียงพอต่อปริมาณงานที่มีอยู่และต้องมีหัวหน้าทีมงานคอยควบคุมงานตลอดเวลาการดำเนินงานในแต่ละเส้นทางการเดินสายสัญญาณโดยทีมงานติดตั้งประกอบด้วย
– วิศวกรผู้ควบคุมงานติดตั้งจำนวน 1 คน
– ช่างเทคนิค จำนวน 5 คน
4.4 การอธิบายขอบเขตของงานและขั้นตอนการติดตั้งพร้อมทั้งตรวจสอบความพร้อมของพนักงานทั้งหมดก่อนการติดตั้ง
4.4.1 พื้นที่ในการติดตั้งต้องมีความเรียบร้อยก่อนที่จะทำงาน และหลังเลิกงานในแต่ละวันต้องทำการจัดเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ
4.4.2 ต้องประสานงานกับผู้รับจ้างรายอื่นที่เข้าไปทำงานติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และควรต้องจัดสรรช่วงเวลาทำงานอย่าให้ทำงานซ้ำซ้อนกันในพื้นที่เดียวกัน
4.4.3 ต้องควบคุมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ในการดำเนินงาน วัตถุประสงค์ของลวดสายนำจะถูกนำมาใช้เพื่อดึงนำร่องสายสัญญาณ UTP โดยที่ลวดสายนำรับแรงดึงไม่เกิน 50 กิโลกรัม
4.5 มาตรฐานในการติดตั้งสายสัญญาณ UTP
1. การเดินสายสัญญาณ UTP สำหรับ Wireless Access Point เป็นไปตามมาตรฐาน TIA/EIT T568B สายสัญญาณ UTP แต่ละเส้น มีความยาวไม่เกิน 100 เมตร และจะไม่มีการต่อสายสัญญาณ UTP ระหว่างทาง
2. สายสัญญาณ UTP ทุกเส้นร้อยอยู่ในท่อร้อยสาย หรืออยู่ในราง Wire Way ตามโครงสร้าง สภาพแวดล้อม และข้อกำหนดของโครงการ Energy Complex เพื่อป้องกันความเสียหายกับสายสัญญาณ นอกจากนั้น ท่อร้อยสาย (Conduit) และราง Wire Way ต้องมีการกำหนดไว้ใช้สำหรับร้อยสายสัญญาณ UTP เท่านั้น โดยจะไม่มีการปะปนกับระบบสายสัญญาณไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
3. การเดินสายสัญญาณ UTP จะทำการเดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดูสวยงาม และถูกต้องตาม หลักการเดินสาย การวางสาย (Handing) และการดัดงอ (Bending) ต้องตามข้อกำหนดของผู้ผลิต
4. ในการติดตั้งจะหลีกเลี่ยงการวางสายสัญญาณ UTP ใกล้แหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน อาทิ มอเตอร์ หม้อแปลงไฟฟ้า
5. การเข้าสายสัญญาณ (Termination) ที่ปลายสายทั้งสองด้าน จะกระทำด้วยเครื่องมือเข้าสายที่ใช้สำหรับสายสัญญาณ UTP เท่านั้น โดยด้านหนึ่งจะทำการเข้าสายที่แผงพักสาย (Patch Panel) และอีกด้านหนึ่งจะเข้าสายที่เต้ารับ (Outlet) พร้อมระบุเลขหมายประจำ (Ports Number) สำหรับแต่ละ Patch Panel และ Outlet ให้เรียบร้อย นอกจากนั้นบริเวณปลายสายสัญญาณ UTP ของแต่ละด้านต้องทำเครื่องหมายหรือป้ายกำกับ (Label) ที่บ่งบอกถึงตำแหน่งหรืออุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมของต้นสายและปลายสายให้เรียบร้อยตามมาตรฐาน TIA/EIA
6. การติดตั้งแผงพักสาย (Patch Panel) ภายในตู้ Rack มาตรฐานขนาด 19 นิ้ว มีไว้เพื่อจัดสายสัญญาณให้เป็นระเบียบสวยงาม จำนวนแผงพักสายต้องมีความสัมพันธ์กับจำนวน Ports ของเต้ารับในแต่ละพื้นที่ โดยให้เพียงพอต่อการใช้งาน รวมทั้งจะต้องติดตั้งชุดจัดระเบียบสาย (Cable Management) ให้สอดคล้องกับแผงพักสายเพื่อความเป็นระเบียบและสวยงาม
บทที่ 5 ขั้นตอนการติดตั้งสายสัญญาณ UTP
การติดตั้งสายสัญญาณ UTP เป็นการติดตั้งเพื่อรองรับอุปกรณ์ Wireless Access Point ที่ได้ทำการออกแบบไว้ในโครงการนี้เท่านั้น
5.1 สายสัญญาณ UTP
ในปัจจุบัน ระบบเครือข่ายนิยมใช้สายคู่ตีเกลียวหรือเรียกกันทั่วไปว่าสายสัญญาณ UTP (Unshielded Twisted Pair) เพื่อใช้เป็นสายนำสัญญาณ สายสัญญาณ UTP มีลักษณะเฉพาะเป็นสายทองแดง 4 คู่ตีเกลียวในแต่ละคู่ได้แก่ คู่สีส้มตีเกลียวกับส้มขาว ฟ้ากับฟ้าขาว เขียวกับเขียวขาว และน้ำตาลกับน้ำตาลขาว สายทองแดงที่ใช้นำสัญญาณ จะมีค่ามาตรฐานที่เรียกว่าค่า AWG เช่น สาย UTP Cat 5e อาจผลิตจากสายทองแดง AWG24 หรือ UTP Cat6 อาจผลิตจากสายทองแดง AWG23 ประโยชน์ในการตีเกลียวของสายทองแดงแต่ละคู่คือเป็นการป้องกันสัญญาณรบกวนที่เกิดจากสายสัญญาณภายในสายเอง (Crosstalk) ยิ่งมีจำนวนรอบต่อการตีเกลียวต่อระยะทางมากเท่าใดก็ยิ่งป้องกันปัญหา Crosstalk ได้มากขึ้น จึงส่งผลให้สายสัญญาณ UTP สามารถรองรับสัญญาณข้อมูลที่ความถี่สูงขึ้นได้ ลักษณะเฉพาะของสายสัญญาณ UTP อีกประการหนึ่งคือสายสัญญาณ UTP ไม่มีฉนวนหุ้มป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก (Unshielded) โดยมีเพียงสายพลาสติกหุ้มเท่านั้น ทำให้ติดตั้งสายสัญญาณ UTP ไม่เหมาะที่จะติดตั้งในบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น บริเวณใกล้มอเตอร์หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สายสัญญาณ UTP ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น Category ต่าง ๆ ได้ดังนี้
ประเภท | การรองรับความเร็วของสัญญาณข้อมูล |
CAT1 | สำหรับสายโทรศัพท์ |
CAT2 | 4 Mbps |
CAT3 | 16 Mbps |
CAT4 | 20 Mbps |
CAT5 | 100 Mbps |
CAT5e | 100/1000 Mbps |
CAT6 | 10/100/1000/10000 Mbps |
CAT6A | 100/1000/10000 Mbps at 55m |
CAT7 | 100/1000/10000 Mbps at 100m |
การนิยามความยาวสายสัญญาณ UTP จากต้นทางไปยังอีกปลายทางอีกด้านหนึ่ง จะเป็นการนับรวมความยาวสายสัญญาณจาก Patch cord ต้นทางไปยัง Patch cord ปลายทาง โดยอนุญาตให้มีรอยต่อของสายสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณได้เพียง 2 จุดเชื่อมต่อ คือ ระหว่าง Patch cord กับแผงพักสายของปลายทั้งสองด้าน ตามมาตรฐานความยาวสายสัญญาณทั้งหมดระหว่างคู่อุปกรณ์หนึ่ง ๆ ต้องไม่ให้เกิน 100 เมตร
ในระหว่างการติดตั้งสายสัญญาณ อาจจะมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้สายสัญญาณใช้งานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น
- การเดินสายสัญญาณใกล้แหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน เช่น สายไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ตามหลักมาตรฐานสากล กำหนดให้การเดินสายสัญญาณ UTP อยู่ห่างสายไฟฟ้าอย่างน้อย 6 นิ้ว
- การเดินสายสัญญาณ UTP ภายนอกตัวอาคาร เนื่องจากสายสัญญาณ UTP ถูกออกแบบมาให้ใช้เดินในตัวอาคารเป็นหลัก ซึ่งอุณหภูมิและสภาพอากาศภายนอกอาคารอาจส่งผลให้คุณภาพสายสัญญาณ UTP ด้อยค่าลง
- การเข้าหัวสายสัญญาณ UTP ที่ไม่ดีพอจะส่งผลให้คุณภาพของสายสัญญาณด้อยลง เช่น เกิดอาการ ติด ๆ ดับ ๆ ของ Network connection
- การมัดหรือการรวบสายสัญญาณรวมกันเป็นมัดใหญ่ ๆ เช่นมากกว่า 25 เส้น จะส่งผลให้สัญญาณ Crosstalk มากวนกันเอง
- การม้วนสายสัญญาณเป็นรัศมีวงแคบมากเกินไป อาจส่งผลให้ลวดทองแดงภายในสาย UTP เสื่อมคุณภาพ และอาจทำให้ลวดทองแดงแตกหักภายในได้
5.1.1 รูปแบบการเดินสายสัญญาณ UTP
โดยทั่วไป การเดินสายสัญญาณ UTP สามารถดำเนินการได้ 2 แบบ คือการลากสายสัญญาณโดยตรง ระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์กับ HUB หรือ switch การเชื่อมต่อแบบนี้ จะใช้สายเพียงเส้นเดียวต่อการเชื่อมต่อหนึ่งจุด ซึ่งจะมีข้อดีคือ ความง่ายต่อการเชื่อมต่อ และ การติดตั้งที่ไม่ตายตัว โดยสามารถเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้ายตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้โดยง่าย การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องเครือข่ายไม่มากนัก หรือในกรณีที่อุปกรณ์ของทั้งระบบอยู่รวมกันในห้องเดียว ดังตัวอย่างในรูป
ส่วนการเดินสายอีกแบบ จะเป็นในลักษณะการใช้หัวต่อตัวเมีย (Female) ซึ่งมีลักษณะคล้ายช่องเสียบสายโทรศัพท์แต่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อเป็นจุดพักสัญญาณโดยส่วนใหญ่จะติดตั้งหัวต่อไว้ที่ผนังห้องหรือพื้นห้อง ส่วนการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้สายที่มีหัวต่อชนิด RJ-45 ทั้ง 2 ด้าน และมักมีความยาวของสายสัญญาณไม่ยาวมาก (ประมาณ 2-3 เมตร) เรียกว่า Patch cord เชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับการเชื่อมต่อสายสัญญาณทางด้าน HUB หรือ Switch จะใช้แผงพักสาย (Patch Panel) สำหรับการต่อเข้าหา HUB หรือ Switch เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลตรวจสอบ ดังรูปที่ 5.3 วิธีการเดินสายสัญญาณประเภทนี้ มักเตรียมการไว้ขณะที่ดำเนินการก่อสร้างอาคารหรือทำการตกแต่งภายในใหม่ การออกแบบและวางแผนก่อนการติดตั้งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจุดเชื่อมต่อแต่ละจุดไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ในระยะไกล วิธีการเดินสายสัญญาณ UTP แบบนี้ จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นเพราะต้องใช้อุปกรณ์ในการติดตั้งเพิ่มขึ้น แต่จะมีความเป็นระเบียบดีกว่าการเดินสายสัญญาณโดยตรง ดังนั้นวิธีการเดินสายสัญญาณประเภทนี้จึงเหมาะกับการเดินสายสัญญาณทั่วทั้งอาคาร ซึ่งอาจมีหลาย ๆ ชั้น และแต่ละชั้นมีห้องหลายห้อง
5.1.2 ลักษณะของสายสัญญาณ UTP
สายสัญญาณ UTP เป็นสื่อตัวนำของสัญญาณข้อมูล ที่พบเห็นได้ในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สายสัญญาณ UTP สามารถเป็นสื่อกลางให้กับสัญญาณแบบอะนาลอกและสัญญาณดิจิตอลได้ สำหรับการส่งสัญญาณดิจิตอล สายสัญญาณ UTP สามารถรองรับการส่งผ่านข้อมูลที่อัตราเร็วสูงได้ เช่น 10/100/1000 Mbps ภายในสายสัญญาณประกอบด้วยสายนำสัญญาณ 4 คู่ (โดยทั่วไปทำมาจากทองแดง) สายนำสัญญาณแต่ละคู่จะมีสีประจำและสีสลับขาว โดยแต่ละคู่สีจะพันกันเป็นเกลียวตลอดความยาวของสายสัญญาณเพื่อลดสัญญาณรบกวนในสาย โดยกำหนดสายและเรียกคู่สายดังรูปที่ 4. ในการเชื่อมต่อต้องมีการคลายเกลียวบริเวณจุดที่ต้องเข้าหัว ซึ่งไม่ควรคลายเกลียวเกินครึ่งนิ้วสำหรับการใช้งานกับเครือข่าย Fast Ethernet และไม่คลายเกลียวเกิน 1/3 นิ้ว สำหรับการใช้งานกับเครือข่าย Gigabit Ethernet สายสัญญาณแต่ละสีจะใช้รหัสเรียกดังนี้
1. grn ( เขียว )
2. wh/grn ( ขาวสลับเขียว )
3. or ( ส้ม )
4. wh/or ( ขาวสลับส้ม )
5. blu ( ฟ้า )
6. wh/blu ( ขาวสลับฟ้า )
7. brn ( น้ำตาล )
8. wh/brn ( ขาวสลับน้ำตาล )
มาตรฐานการเชื่อมต่อสายสัญญาณ UTP มี 2 แบบ คือ แบบ T568A และ T568B (Type A และ Type B) ซึ่งมีวิธีการเรียงสีของสายนำสัญญาณแตกต่างกัน ผู้ใช้ควรเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่ง โดยทั่วไปส่วนใหญ่อุปกรณ์ต่าง ๆ มักนิยมใช้แบบ T568B มากกว่า และที่สำคัญคือการเลือกใช้มาตรฐานควรใช้แบบเดียวกันตลอดทั้งโครงการและไม่ควรผสมทั้งสองแบบ เพราะจะทำให้สับสนได้
มาตรฐาน T568A
ตาราง 1 การกำหนดคู่สายของ T568A
คู่สาย | Pin | สี | |
คู่สายที่ 3 ต่อระหว่าง ขาที่ 1 และ 2 | Pin 1 | wire color: white/green | |
Pin 2 | wire color: green | ||
คู่สายที่ 1 ต่อระหว่าง ขาที่ 4 และ 5 | Pin 4 | wire color: blue | |
Pin 5 | wire color: white/blue | ||
คู่สายที่ 2 ต่อระหว่าง ขาที่ 3 และ 6 | Pin 3 | wire color: white/orange | |
Pin 6 | wire color: orange | ||
คู่สายที่ 4 ต่อระหว่าง ขาที่ 7 และ 8 | Pin 7 | wire color: white/brown | |
Pin 8 | wire color: brown |
มาตรฐาน T568B
ตาราง 2 การกำหนดคู่สายของ T568B
คู่สาย | Pin | สี | การใช้งาน | |
คู่สายที่ 2 ต่อระหว่าง ขาที่ 1 และ 2 | Pin 1 | White/Orange | TxData + | |
Pin 2 | Orange | TxData – | ||
คู่สายที่ 3 ต่อระหว่าง ขาที่ 3 และ 6 | Pin 3 | White/Green | RecvData+ | |
Pin 6 | Green | RecvData- | ||
คู่สายที่ 1 ต่อระหว่าง ขาที่ 4 และ 5 | Pin 4 | Blue | ||
Pin 5 | White/Blue | |||
คู่สายที่ 4 ต่อระหว่าง ขาที่ 7 และ 8 | Pin 7 | White/Brown | ||
Pin 8 | Brown |
5.2 การเข้าหัวต่อ RJ-45 กับสายสัญญาณ UTP
หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณ UTP เป็นชนิด RJ-45 ถึงแม้วิธีการเข้าหัวสายสัญญาณ UTP กับหัวต่อ RJ-45 อาจจะไม่ยากมาก แต่อย่างไรก็ตามผู้เข้าหัวต่อ RJ-45 จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจทางด้านเทคนิคและความชำนาญ
5.2.1 อุปกรณ์ที่ใช้ ในการเข้าหัว RJ-45
หัวต่อ RJ-45
หัวต่อ RJ-45 เป็นอุปกรณ์สำหรับสวมใส่ที่บริเวณปลายสายสัญญาณ UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้ายหัวต่อโทรศัพท์ และบริเวณด้านหลังจะมีช่องหรือรูขนาดเล็กสำหรับเสียบสายนำสัญญาณทั้ง 4 คู่ บริเวณด้านบนของหัวต่อ RJ-45 มีตัวล๊อคเพื่อความกระชับในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ตำแหน่ง Pin ในหัวต่อ RJ-45 จะเริ่มนับจากซ้ายไปขวาโดยเริ่มจาก Pin-1 ไปจนถึง Pin-8 เมื่อหันหน้าเข้าด้านหน้าของหัวต่อ
5.2.2 การเข้าหัวสาย
สายสัญญาณที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็น Category 5E (CAT5E) และ Category 6 (CAT6) โดยที่สายสัญญาณดังกล่าวสามารถรองรับการรับส่งสัญญาณข้อมูล (data transmission) ได้ถึง 100Mbps การใช้สายสัญญาณประเภทนี้จะทำให้ต้นทุนของการสร้างระบบ LAN (Local Area Network) ลดลง
คุณสมบัติที่สำคัญของสายสัญญาณ CAT5E และ CAT6 เป็นสายชนิดบิดเกลียวและไม่มีฉนวนป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเรียกว่า UTP Cable (Unshielded Twisted Pair cable) โดยมีสายทั้งหมด 4 คู่ตีเกลียว หรือ 8 เส้นของสายตัวนำ สายตัวนำแต่ละเส้นจะใช้เป็นสายทองแดงเส้นเดียวที่สามารถโค้งงอได้ สายสัญญาณ UTP จะต้องร้อยสายสัญญาณใส่ไว้ในราง Wire way หรือท่อ Conduit เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนตลอดแนววางสาย
Pin ของ RJ-45 plug จะเรียงจาก 1 ถึง 8 การนับลำดับที่ของ Pin จะมีวิธีการนับดังนี้
1. ให้เดือยยึด (ตัวล็อก) ของ RJ-45 plug ลงล่าง
2. ให้ขาทองแดงขึ้นด้านบนและหันเข้าหาตัวผู้ที่กำลังนับตำแหน่ง Pin
3. ขาที่ 1 จะนับจากด้านซ้ายมือ 5.2.3 การต่อสายสัญญาณเข้าหัวต่อ RJ-45
1. การปอกลอกสาย
· ตัดปลายสายให้เสมอกัน
· สอดสายเข้าระหว่างมีดปอกสาย โดยให้ปลายสายสัญญาณยันรับกับก้านรับปลายสาย
· กดมีดปอกสายเบา ๆ พร้อมหมุนสายโดยให้คมมีดบาดเข้าเฉพาะฉนวนนอก
และพยายามอย่าให้คมมีดบาดเข้าไปยังลวดทองแดงในสายนำสัญญาณ
· นำคีมออกจากสายสัญญาณและดึงฉนวนรอบนอกออก
2. การแยกคู่สายนำสัญญาณออกจากกัน : เนื่องจากสายนำสัญญาณภายในมีการตีเกลียวคู่กันมาตลอดทั้งเส้น เพื่อที่จะสอดสายนำสัญญาณแต่ละเส้นใส่ในร่องหัวต่อ RJ-45 จำเป็นต้องปลดเกลียวออกก่อน
3. การเรียงเส้นของสายนำสัญญาณ โดยต้องเรียงให้ถูกต้องกับการใช้งาน (สายต่อตรง[Straight through] หรือ สายต่อไขว้ [Crossover]) และตัดปลายสายทุกเส้นให้เสมอกัน
4. การสอดสายเข้าใน RJ 45 Plug
5. ลักษณะการสอดสายที่ดีจะมีดังนี้
o ปลายสายนำสัญญาณต้องชนขอบในของ RJ 45 Plug
o ฉนวนนอกต้องอยู่ใต้ตัวยึดสาย
6. การนำสายสัญญาณและ RJ-45 ที่พร้อมสอดเข้าในคีมบีบ
o หัวย้ำทองแดงจะต้องกดทองแดงให้เขี้ยวฝังทะลุฉนวนของสายตัวนำไปชนกับตัวนำแต่เส้นสายสัญญาณ
o หัวย้ำตัวยึดสายต้องกดตัวยึดสายให้กดลงในฉนวนนอกเพื่อทำให้สายยึดกับหัว RJ-45 ให้แน่น
5.3 การเรียงสายนำสัญญาณ
การเรียงสายนำสัญญาณเพื่อการเข้า RJ-45 Plug นั้น จะมีการเรียงสาย 2 แบบ คือ
แบบต่อไขว้ (Crossover Ethernet Cable) โดยปลายสายด้านหนึ่งจะสลับสายกับปลายสายอีกด้านหนึ่ง ซึ่งการเรียงเส้นสายนำสัญญาณเป็นตามมาตรฐานที่กำหนด โดย Pin-1 สลับกับ Pin-3 และ Pin-2 สลับกับ Pin-6
1. แบบต่อตรง (Straight-Through Ethernet Cable) โดยปลายสายทั้งสองด้านจะมีการเรียงสีในเหมือนกันตามแบบมาตรฐานที่กำหนด (T568A หรือ T568B) ใช้สำหรับต่อสายระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และ HUB
2. แบบต่อไขว้ (Crossover Ethernet Cable) โดยปลายสายด้านหนึ่งจะสลับสายกับปลายสายอีกด้านหนึ่ง ซึ่งการเรียงเส้นสายนำสัญญาณเป็นตามมาตรฐานที่กำหนด โดย Pin-1 สลับกับ Pin-3 และ Pin-2 สลับกับ Pin-6
5.3.1 ขั้นตอนการเรียงสายเข้าหัวต่อ RJ-45 ตัวเมีย
การต่อสายสัญญาณ CAT5E และ CAT6 มีการเรียงสีของสายนำสัญญาณเป็นแบบมาตรฐาน T568B (ในโครงการนี้ จะเลือกใช้ตามมาตรฐาน T568B) โดยการเรียงสีดังรูปที่ 5.6 ลักษณะเฉพาะของการส่งข้อมูลผ่านสายสัญญาณ UTP ในระบบเครือข่าย จะใช้สายนำสัญญาณเส้นที่ 1,2,3,6 เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงการเข้าหัวต่อ RJ-45 จำเป็นต้องให้ใช้งานได้ทั้ง 8 เส้น สำหรับหัวต่อตัวเมียจะเป็นเบ้าเสียบไว้สำหรับเชื่อมต่อกับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านที่จะนำหัวต่อตัวผู้เสียบ พิน 8 จะอยู่ทางซ้าย ส่วนพิน 1 จะอยู่ทางขวา หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องขนาดเล็กและมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ RJ-45 ด้านในกล่องจะมีขั้วทองแดงซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณจริง ๆ ดังรูปที่ 5.21 ในบางครั้งหัวต่อตัวเมียอาจเรียกว่า Female Outlet ส่วนตัวขั้วอาจเรียกว่า Jack Face สำหรับ Pin ของ RJ-45 ตัวเมีย จะแบ่งเป็นส่องฝั่ง ฝั่งละ 2 คู่ ซึ่งแต่ละฝั่งจะมี แถบสีบอกเอาไว้ การจะต่อสายสัญญาณ UTP เข้ากับหัวต่อ RJ-45 ตัวเมีย มีวิธีดังนี้
1. ปอกเปลือกสายออก แล้วทำการแยกสายเป็นคู่ ๆ
2. สังเกตุที่หัว RJ-45 ตัวมียจะมีแถบสีด้านข้างบอกว่า คู่สีใหนอยู่ตำแหน่งใหน
3. หลังจากนั้นให้นำคู่สายแต่ละคู่เรียงเข้าไปตามแถบสีที่บอกเอาไว้
4. ขั้นตอนต่อไปก็นำเครืองมือตัดสายมาย้ำและตัดสาย โดยวิธีการกดลงไปแล้วเครื่องก็จะตัดสายโดยอัตโนมัติ
5.4 การ Terminate สายสัญญาณ UTP ที่ Patch Panel
สำหรับ Patch Panel นั้นจะมีขั้นตอนการติดตั้งสายสัญญาณ UTP เข้ากับ Patch Panel ดังนี้
5.4.1 ขั้นตอนที่ 1
ผู้ติดตั้งจะต้องทำการแยกสายออกเป็น สองกลุ่ม กลุ่มละ 12 เส้น (UTP Patch panel จะมี 24 port) อยู่คนละฝั่งตามตัวเลขที่ใส่เอาไว้ที่สายให้ตรงกับที่หน้า Patch Panel ดังรูปที่ 5.23 และ 5.24
5.4.2 ขั้นตอนที่ 2
ปอกเปลือกสายสัญญาณ UTP ออก แล้วทำการแยกสายเป็นคู่ ๆ เพื่อทำการ ติดตั้งสายเข้ากับ Patch Panel ดังรูป
5.4.3 ขั้นตอนที่ 3
หลังจากที่ทำการแยกสายสัญญาณและทำการปอกเปลือกหุ้มสายสัญญาณออกแล้ว ให้แยกสายสัญญาณออกเป็นคู่ ๆ เพื่อทำการต่อสายเข้ากับ Patch Panel โดยให้สังเกตุ ด้านหลังของ Patch Panel จะมี Pin เรียงเป็นแถว แบ่งเป็นแถวบนและแถวล่าง ในส่วนของแถวด้านบน จะเป็นตำแหน่งของสายที่เป็นเลขคี่ และด้านล่างจะเป็นในส่วนของสายที่เป็นเลขคู่ ในส่วนของ Pin ที่เรียงกันอยู่จะมีแถบสีแสดงเอาไว้ว่าในแต่ละคู่ Pin เป็นสีอะไร และสีที่ระบุใน Pin ของ Patch Panel ก็จะเป็นคู่สีเดียวกันกับสายสัญญาณ UTP ด้วย หลังจากนั้นก็นำคู่สายแต่ละคู่เรียงเข้าไปตามแถบสีที่บอกเอาไว้ หลังจากนั้นให้นำเครืองมือตัดสายมาย้ำและตัดสายโดยวิธีการกดลงไปแล้วเครื่องมือก็จะตัดสายโดยอัตโนมัติ ดังรูปที่ 5.26
5.4.4 ขั้นตอนที่ 4
หลังจากที่ทำการเข้าสายเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเป็นขั้นตอนการจัดเรียงสายให้เป็นระเบียบ และง่ายต่อการตรวจสอบแก้ไขในภายหลัง ดังรูปที่ 5.27
5.5 การตรวจสอบสายสัญญาณ UTP
เพื่อประสิทธิภาพของสายสัญญาณ UTP หลังการติดตั้งสายสัญญาณ UTP นั้น ดังนั้นเราจึงต้องมีการทดสอบสัญญาณด้วยเครื่องมือการตรวจสอบ ซึ่งค่าพารามิเตอร์ที่แสดงออกมาก็จะปรากฎให้เห็นเป็นตัวเลขแล้ว ในหัวข้อนี้ จะกล่าวถึงการใช้เครื่องมือทดสอบสายสัญญาณ UTP และพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่แสดงออกมาจากเครื่องมือตรวจสอบสายสัญญาณ UTP
5.5.1 การทดสอบสายสัญญาณ UTP
การทดสอบสายสัญญาณ UTP ต้องมีรายงานการทดสอบแต่ละเส้นของสายสัญญาณ UTP กำกับเอาไว้ ซึ่งในรายงานการทดสอบจะต้องแสดงพารามิเตอร์ที่จำเป็น อาทิ
1) ความยาวของสายสัญญาณ (Length)
2) ค่าลดทอนของสายสัญญาณ (Attenuation)
3) ค่า Near End Cross Talk (NEXT)
4) ค่า Attenuation to Cross talk Ratio (ACR)
5) ค่า Equal Level – Far End Cross Talk (EL-FEXT)
6) ค่า Return Loss
7) ค่า Parameter อื่น ๆ ที่จำเป็น
การทดสอบว่าสายสัญญาณ UTP ที่ได้ทำการติดตั้งไปนั้นมีประสิทธิภาพการใช้งานตรงตามมาตรฐานหรือไม่ สายขาดระหว่างทางหรือไม่ โดยเครื่องมือทดสอบสายสัญญาณ UTP จะรายงานผลการทดสอบออกมาให้ เพื่อแสดงถึงสายสัญญาณเส้นดังกล่าวมีปัญหาอะไรหรือเปล่าดังรูปที่ 5.30
- ถ้าสายสัญญาณ UTP มีการจัดเรียงสายนำสัญญาณถูกต้องก็จะแสดงผลออกมาว่าสายตรงกันทุกคู่สาย
- ถ้าสายสัญญาณมีการจัดเรียงสลับคู่สายกัน เครื่องมือทดสอบจะแสดงผลออกมาว่าสายมีการสลับคู่กัน
- ถ้าสายขาดกลางหรือฝั่งทางด้านต้นทางหรือปลายทางเครื่องมือก็จะแสดงผลออกมา
- เครื่องมือทดสอบสายสัญญาณ สามารถแสดงผลออกมาเป็นคู่ ๆ ได้
5.5.2 Length
ความยาวของสายสัญญาณที่ใช้แต่ละจุด เริ่มตั้งแต่สาย Patch Cord ในตู้ RACK จนถึงสาย Patch Cord ที่ต่อเข้ากับ Work Station : ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 (Ethernet) สามารถเดินสายสัญญาณได้ไกลที่สุด 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์ รูปที่ 5.31 แสดงผลการตรวจสอบค่าความยาวสายสัญญาณ UTP
5.5.3 NEXT (Near End Crosstalk)
NEXT เป็นค่าสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคู่สายสัญญาณแต่ละคู่เหนี่ยวนำกันเองในคู่นั้น ๆ
(สัญญาณรบกวนข้ามคู่สาย) โดยบริเวณที่เกิดสัญญาณรบกวนมากที่สุดจะอยู่บริเวณต้นทางเนื่องจากการเข้าหัวต่อ RJ-45 ต้องมีการปลดปล่อยการตีเกลียวของคู่สาย
NEXT จะมีค่าเป็นลบในทางทฤษฎี แต่ค่าที่แสดงในผลทดสอบจะแสดงออกมาเป็นค่าบวก ดังนั้นค่า NEXT ที่ได้จากเครื่องมือทดสอบต้องมีค่ามากกว่าค่าขอบเขต (limit)
5.5.3 PSNEXT : Power Sum Near End Crosstalk
เป็นค่าการรบกวนของสายสัญญาณ ระหว่างคู่สายสัญญาณคู่อื่น ๆ ที่เหนี่ยวนำขึ้น ในการทดสอบสายสัญญาณคู่นั้น ๆ เหมาะสำหรับระบบที่มีการใช้งานสายสัญญาณพร้อมกัน 4 คู่สาย และจะต้องมีค่าไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
5.5.4 ELFEXT : Equal level far End Crosstalk
เป็นผลของการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่น ที่ทำการทดสอบสายสัญญาณคู่นั้น ๆ รวมไว้ด้วยกัน โดยทำการวัดการสัญญาณรบกวนทางด้านปลายทาง ซึ่งจะต่างจาก NEXT ที่ทำการวัดการรบกวนทางด้านต้นทาง สายสัญญาณที่มีคุณภาพดีจะต้องมีค่าสัญญาณรบกวนมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับ NEXT
5.5.5 PSELFEXT (Power Sum ELFEXT)
เป็นผลรวมของการทดสอบแบบ ELFEXT โดยเป็นการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่น ๆ ที่กำลังรบกวนสายสัญญาณที่ทำการทดสอบ ซึ่งค่า PSELFEXT ควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
5.5.6 ACR (Attenuation to crosstalk)
เป็นค่าที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง Attenuation และ NEXT ซึ่งแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของสายสัญญาณ โดยดูจากผลของค่าลดทอนและการรบกวนจากสายคู่อื่น ๆ ควบคู่กัน ซึ่งค่า ACR ที่มากกว่ามาตรฐานจะทำให้รับส่งข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
5.5.7 PSACR (Power Sum ACR)
เป็นค่าที่เกิดจากผลรวมของ ACR ของสายนำสัญญาณคู่อื่น ๆ ที่ไม่ได้ทำการทดสอบ โดยผลการทดสอบที่ได้จะต้องมีค่า PSACR สูงกว่าค่าขอบเขต (Limit)
5.5.8 Return Loss :
เป็นการวัดกำลังงานของสัญญาณที่สะท้อนกลับมาเนื่องจากความไม่ลงรอยของความต้านทานไฟฟ้าในบริเวณรอยต่อระหว่าง Patch panel และ Patch cord ค่า Return loss ยิ่งสูงจะทำให้ประสิทธิภาพการเชื่อมต่อของสายสัญญาณ UTP มากขึ้นตามไปด้วย
5.6 การเชื่อมต่ออุปกรณ์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รูปที่ 5.37 แสดงถึงขั้นตอนการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ UTP CABLE ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
- ติดตั้ง UTP Patch Panel 24 Port ภายในตู้ 19”Rack Cabinet ในชั้นที่มีการติดตั้ง Wireless Access Point ให้เพียงพอกับจำนวน Wireless Access Point ที่ติดตั้ง
- เดินสายสัญญาณ UTP Cable Cat 6 การเข้าสายสัญญาณด้านหลังอุปกรณ์ UTP Patch Panel ต้องกระทำด้วยเครื่องมือการเข้าสายโดยเฉพาะ คือ punch down tool และทำการลากสายไปยังปลายทางที่ได้ทำการกำหนดจุดติดตั้ง Wireless Access Point ไว้แล้วตามแบบ
- ในการเข้าสายที่ต้นทาง (Patch panel) และปลายทาง (Wireless Access Point) นั้นจะทำการจัดเรียงสีของสายนำสัญญาณตามมาตรฐาน EIA/TIA 568B
- ทำการเชื่อมต่อระบบด้วยสาย UTP Patch Cord ที่หน้าตู้ Rack ระหว่าง Patch Panel กับ อุปกรณ์ Switch
- ในการติดตั้งเดินสายสัญญาณ UTP Cable Cat 6 จาก UTP Patch Panel ไปยังจุดติดตั้ง Wireless Access Point นั้น จะทำการเดินสาย ภายในท่อร้อยสายแบบอ่อน ขนาด ½” ซึ่งท่อดังกล่าวจะใส่สาย UTP จำนวน 1 เส้นเท่านั้น
- ทำการเดินสายเคเบิลในอาคาร เพื่อให้อุปกรณ์ Wireless Access Point สามารถใช้งานได้
ตารางแบบของงานติดตั้งสายใยแก้วนำแสง
รายละเอียดเส้นทางสายสัญญาณใยแก้วนำแสง | เอกสารอ้างอิง |
เส้นทางสายสัญญาณ UTP ภายในอาคาร A | SD-UTP-A-09-08-R01 |
เส้นทางสายสัญญาณ UTP ภายในอาคาร C | SD-UTP-C-09-08-R01 |
เส้นทางสายสัญญาณ UTP ภายในอาคาร D | SD-UTP-D-09-08-R01 |
เส้นทางสายสัญญาณ UTP ภายในอาคาร E | SD-UTP-E-09-08-R01 |
5.7 การกำหนด Label
การเดินสาย Fiber Optic และสายสัญญาณ UTP ทุกเส้นทุกชนิด จะต้องกำหนดรหัสที่ต้นทางและปลายทางของสายสัญญาณ โดยมีรหัสตรงกันทั้งสองด้านของปลายสายและใช้ Wire Marker สำหรับสายสัญญาณโดยเฉพาะ การกำหนดรหัสอ้างอิงกับมาตรฐาน TIA/EIA-606 ซึ่งสามารถอธิบายมาตรฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลได้ดังนี้
1. Work area เป็นพื้นที่ภายในอาคารสำหรับการปฏิบัติงานติดต่อสื่อสารข้อมูล้ดวยเครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งต่อขยายมาจากจุดต่อสาย หรือ outlet ไปยังเครื่องมือ อุปกรณ์ ตามระยะมาตรฐาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องพิมพ์ เครื่องโทรสาร ในการติดตั้งรวมถึง อุปกรณ์แปลงสัญญาณระหว่าง outlet และเครื่องมือ อุปกรณ์
2. Horizontal cabling (HC) จะนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นจ่ายสัญญาณ ไปยัง outlet ที่ติดตั้งภายในชั้นเดียวกัน
3. Telecommunication closet (TC) เป็นจุดต่อสำหรับสายสัญญาณเพื่อกระจายสัญญาณภายในชั้นนั้น (ในมาตรฐาน ISO : TC และ FD จะเหมือนกัน) TC ควรจะสามารถเก็บอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลและจุดต่อปลายสายสัญญาณ เหมือนกับจุดส่งผ่านข้อมูลระหว่างชั้นกับ backbone
4. Backbone cabling จะฝังไว้เป็นแกนหลัก (Core) เพื่อการเชื่อมต่ออุปกรณ์ระหว่างชั้น หรือระหว่างอาคาร การเชื่อมต่อระหว่างอาคาร เรียกว่า Interbuilding backbone/campus หากเชื่อมต่อภายในอาคาร เรียกว่า Intrabuilding backbone/building จะเหมือนกับ Vertical หรือ riser
5. Equipment room (ER) เป็นห้องสำหรับเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ หรือเป็นศูนย์กลางการควบคุม อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล จุดเชื่อมต่อไปยังไปทาง เครื่องมือ อุปกรณ์ป้องกัน ห้องนี้อาจจะรวมอุปกรณ์ทุกอย่างไว้ในห้องเดียวกันได้
6. Entrance facility (EF) จะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อสำหรับออกสู่ภายนอก เช่น กล่องเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ PABX หรืออาจเป็นเส้นทางหลักสำหรับเชื่อมต่อระหว่างอาคาร
อธิบายการกำหนด Label ที่หน้า Patch Panel และ ที่สายสัญญาณ UTP
ตัวอย่างของการตั้งรหัสของ Label เช่น
(R45ACM10P101)
(W6ECM04P101)
อธิบายการกำหนดรหัสของ Label
– R45 หมายถึง ตู้ Rack ขนาด 45 U
– W6 หมายถึง ตู้ Wall Rack ขนาด 6 U
– A หมายถึง อาคาร A
– E หมายถึง อาคาร E
– DC หมายถึง ห้อง Data Center
– CM หมายถึง ห้อง Communication
– 10 หมายถึง อาคาร A ชั้น 10
– 04 หมายถึง อาคาร E ชั้น 4
5.8 ขั้นตอนส่งมอบงาน
แสดงตารางขั้นตอนการส่งมอบงาน
บทที 6 ขั้นตอนการติดตั้งสายสัญญาณ Fiber Optic
6.1 ประวัติความเป็นมา
การใช้แสงเป็นสื่อในการนำสัญญาณแล้วส่งไปในตัวกลางต่างๆ นั้น ได้เริ่มขึ้นจาก นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น ทินดัล ( John Tyndall ) ได้พบว่าแสงสามารถส่งผ่านไป ตามลำได้ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2413 จาก จุดเริ่มต้นนี้ก็ได้มีความพยายามกันเป็นเวลานานที่จะทำให้ ปรากฏการณ์นี้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติได้ จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2503 ก้าวสำคัญของการ เปลี่ยนแปลงได้มาถึงเมื่อมีการทดลองใช้เลเซอร์เป็นครั้ง แรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ก็มีนักวิทยาศาสตร์สองคนของสหราชอาณาจักร ชื่อ ฮอคแคม ( G.A Hockham ) และเกา ( C.C. Kao ) ได้ทำการศึกษาวิจัยว่าตัวกลางที่ทำด้วยใยแก้วนำแสงสามารถส่งผ่านได้ 1% ของแสงอินพุตด้วยระยะทาง 1 กิโลเมตร และตัวกลางนี้จะเป็นคู่แข่งสำคัญกับสายทองแดงและ สายหุ้มฉนวน ( Coaxial Cable ) จากนั้นความก้าวหน้าทางวัสดุศาสตร์เรื่อยมาจนปัจจุบัน ทำให้สามารถมีใยแก้วนำแสงที่มีการส่งผ่านแสงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ หรือการสูญเสียต่ำได้ ใยแก้วนำแสงบางชนิดซึ่งอาจมีการสูญเสียต่ำ มากคือการสูญเสียเพียง 0.1 เดซิเบลต่อกิโลเมตร ( db\km ) เท่านั้น
เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) คือ
เส้นใยนำแสง (fiber optic) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้ว หรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ เส้นอยู่รวมกันเส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้น ผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่ง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนการส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่าง จากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่งแต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้ จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของ แสง โดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมากและไม่มีการ ก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเทอร์เน็ตจะ ใช้ได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต และเนื่องจากความสามรถในการส่งข้อมูล ด้วยอัตราความหนาแน่นสูง ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพกราฟิก หรือวิดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งสูงแต่อย่างไร ก็มีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหักจึงไม่สามาถใช้สื่อ กลางนี้ในการเดินทางตามมุมตึกได้เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับ เชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคาร กับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมืองเส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลักเส้นใยแก้วนำ แสงสามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด คือ เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)
6.2 ส่วนประกอบวัสดุและอุปกรณ์การติดตั้ง
6.3 ขั้นตอนการเข้าหัวสายสัญญาณด้วยวิธี Splice
6.4 ขั้นตอนการเข้าหัวสายสัญญาณด้วยวิธี Connector
6.5 ขั้นตอนการทดสอบ
บทที 7ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
7.1 การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย
7.2 ข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์
7.3 อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล
7.4 ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่สูง
Commissioning Report (FIBER , RACK ,UTP , COLD CONTAINMENT )