IG – 100
ระบบดับเพลิงด้วยแก๊สไนโตรเจน(IG-100) ผลิตภัณฑ์ Rotarex จากประเทศลักเซมเบิร์ก
ไนโตรเจนเป็นสารดับเพลิงชนิดหนึ่งในกลุ่มของแก๊สเฉื่อยซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสารสะอาดดับเพลิง ที่มีความสามารถในการดับเพลิง ด้วยลดออกซิเจนภายในพื้นที่ป้องกัน โดยถูกนำมาใช้ดับเพลิงแทนสารดับเพลิงฮาล่อน 1301 ตามมาตรฐาน NFPA 2001 Standard on Clean Agent Fire Extinguishing Systems
แก๊สเฉื่อยดับไฟด้วยวิธีกำจัดออกซิเจน ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศ ทำให้การลุกไหม้เกิดขึ้นและดำเนินต่อ ไปได้อยู่ที่ 21% หากปริมาณออกซิเจนต่ำกว่า 15% จะทำให้การลุกไหม้ยุติลง โดยทั่วไป แก๊สเฉื่อยที่ใช้ดับไฟจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในบริเวณนั้นเหลือต่ำกว่า 15% โดยทั่วไปจะมีปริมาณออกซิเจนเหลืออยู่ประมาณ 10-12.5% ขึ้นอยู่ค่าความเข้มข้นที่ใช้ในการออกแบบ แต่จะต้องไม่ต่ำกว่า 10% เพราะจะทำให้เป็นอันตรายร้ายแรงต่อคนที่อยู่ในพื้นที่ใช้สาร (หนีออกไปไม่ทันหรือเป็นผู้ปฏิบัติงาน)
NOAEL (no-observed-adverse-effect level) หมายถึง ปริมาณของสารเคมีที่มากที่สุด ซึ่งได้รับทุกวันแล้วไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษหรือผลเสีย (adverse effects) ใดๆ ต่อร่างกาย
ตารางเปรียบเทียบ ค่า NOAEL ของสารดับเพลิงแต่ละประเภท
สารดับเพลิงแก๊สเฉื่อยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. สารดับเพลิงแก๊สเฉื่อยชนิดเดียว คือ
1.1 IG-100 เป็นแก๊สไนโตรเจน 100%
1.2 IG-01 เป็นแก๊สอาร์กอน 100%
2. สารดับเพลิงแก๊สเฉื่อยชนิดสารผสม คือ
2.1 IG-541 เป็นส่วนผสมของแก๊ส 3 ชนิดคือ ไนโตรเจน(52%) อาร์กอน(40%) และ คาร์บอนไดออกไซด์(8%)
2.2 IG-55 เป็นส่วนผสมของแก๊ส 2 ชนิดคือ ไนโตรเจน(50%) และอาร์กอน(50%)
คุณสมบัติของแก๊สไนโตรเจน
เป็นสารดับเพลิงที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสและไม่นำไฟฟ้า ค่าทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศเป็นศูนย์ (เทียบจากค่าความทำลายโอโซนของสารทำความเย็น R-12 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1)และเบากว่าอากาศ
สามเหลี่ยมไฟของสารดับเพลิงแต่ละประเภท
วิธีการทำงานของระบบดับเพลิงด้วยแก๊สไนโตรเจน
แก๊สไนโตรเจนจะถูกบรรจุอยู่ในถังทนความดันซึ่งปกติจะถูกอัดความดันไว้ภายในถังประมาณ 200-300 bar เมื่อระบบถูกกระตุ้นให้ทำงาน แก๊สจะถูกฉีดออกจากถังผ่านหัววาล์วซึ่งจะมีวาล์วลดความดันที่หัวถัง(Regulator) เพื่อลดความดันลงเหลือประมาณ 60 bar ไปยังระบบท่อทางต่างๆและไปยังหัวฉีดสารในท้ายที่สุด
การทำงานของระบบ จะเริ่มจากอุปกรณ์ตรวจจับ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับด้วยควัน(Smoke detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน(Heat detector) ฯลฯ โดยจะแบ่งโซนตรวจจับเพลิงไหม้ออกเป็น 2 โซน เพื่อทำการตรวจทานคำสั่ง(Cross zone)ที่ตู้ควบคุมการสั่งฉีด(Release panel)ก่อนจะส่งสัญญาณไปยังโซลินอยด์วาล์วเพื่อเปิดวาล์วที่หัวถังไนโตรเจน และฉีดสารไปยังพื้นที่ป้องกันแบบฉีดท่วมทั้งห้อง(Total flooding)ที่แจ้งว่ามีเหตุเพลิงไหม้ โดยจะต้องฉีดสารออกจากถังอยากน้อย 95% ภายใน 60 วินาที(สำหรับเชื้อเพลิงประเภท Class B) และภายใน 120 วินาที(สำหรับเชื้อเพลิงประเภท Class A และ C)
ข้อดีของระบบดับเพลิงด้วยแก๊สไนโตรเจน
1. แก๊สไนโตรเจนเป็นแก๊สที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป หาได้ง่ายและมีราคาถูก
2. เนื่องจากไม่นำไฟฟ้าจึงทำให้ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า และใช้งานได้อย่างกว้างขวางตั้งแต่พื้นที่ป้องกันขนาดเล็ก จนถึงพื้นที่ป้องกันขนาดใหญ่ เช่น ห้องไฟฟ้า ห้องเซิฟเวอร์ ห้องอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ฯลฯ
3. ไม่มีส่วนผสมของกรดฮาโลคาร์บอน
4. ไม่กัดกร่อนและไม่เป็นพิษ
5. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. ขณะระบบทำงานไม่บดบังทัศนวิสัยในการอพยพออกจากพื้นที่มากนัก ทำให้ง่ายต่อการอพยพออกจากพื้นที่
ข้อจำกัดในการออกแบบและติดตั้ง
1. พื้นที่ที่ต้องการป้องกัน(Protected area) จะต้องเป็นพื้นที่ปิด(Enclosure) เสมอ
2. การเดินท่อและการติดตั้งหัวฉีดสาร(Nozzle) จำเป็นจะต้องทำอย่างระมัดระวัง และต้องผ่านการคำนวณโดยโปรแกรม เพื่อให้แน่ใจว่า สารดับเพลิงจะมีความดันเพียงพอที่จะสามารถฉีดออกไปได้ตามที่คู่มือของแต่ละผลิตภัณฑ์กำหนดไว้
3. การออกแบบจะต้องออกแบบให้ระบบฉีดสารตามความเข้นข้นของสารที่ออกแบบไว้น้อยกว่า 95% ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วินาที(สำหรับเชื้อเพลิง Class B) และไม่เกิน 120 วินาที(สำหรับเชื้อเพลิง Class A และ C) และจะต้องกักเก็บสารไว้ภายในห้องให้ได้อย่างน้อย 10 นาที หรือมากกว่า หากจำเป็น หรือตามตารางข้างต้นนี้
ตารางเปรียบเทียบสารดับเพลิงแต่ละประเภท
4. จะต้องทำการทดสอบท่อ ด้วยความดันไม่น้อยกว่า 40 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว(psi) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 นาที โดยหลังจากผ่าน 10 นาทีไปแล้วความดันภายในท่อจะต้องไม่น้อยกว่า 80% ของความดันที่ทดสอบ
5. จะต้องติดตั้งช่องระบายความดัน(Relief pressure damper,Relief vent) โดยขนาดของช่องระบายความดันนั้นจะต้องได้รับการคำนวณอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากความดันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกเริ่มของการทำงานของระบบ
6. หลังจากติดตั้งทุกอย่างเสร็จแล้ว จะต้องทำการทดสอบรั่วของห้อง(Room integrity test) โดยผู้เชี่ยวชาญและได้รับใบรับรองด้านการทดสอบ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า สารจะไม่รั่วไหลออกจากห้องก่อนเวลาอันควร(ควรจะทำการตรวจสอบทุกๆ 12 เดือน) และผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน
7. ผู้ออกแบบ ติดตั้ง ควรได้รับใบรับรองโดยตรงจากผู้ผลิต เพราะในแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีความแตกต่างในการติดตั้งเล็กๆน้อยๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบโดยตรงต่อการดับเพลิง
ถึงแม้จะถูกเรียกว่า สารสะอาดดับเพลิง แล้วนั้น มนุษย์ก็ไม่ควรจะรับสารโดยตรงต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 5 นาทีขึ้นไปตามความเข้มข้นที่แนะนำในการออกแบบ(ระยะเวลาจะลดลงเรื่อยๆ หากค่าความเข้มข้นเพิ่มขึ้นจากที่มาตรฐานระบุไว้)
ข้อมูลอื่นๆ
2. งานติดตั้ง
3. งาน Service