Lesson 42 : การประมาณโหลดของเต้ารับไฟฟ้าคิดอย่างไร ?


การประมาณโหลดของเต้ารับไฟฟ้าคิดอย่างไร ?

1 จุดคิดกี่ VA และ 1 วงจรคิดไม่ควรเกินกี่เต้ารับ

ตามมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564

มีการกำหนดขนาดของโหลดเต้ารับไว้ดังนี้

ข้อ 3.1.6.3 โหลดของเต้ารับใช้งานทั่วไป ให้คำนวณโหลดจุดละ 180 VA ทั้งแบบชนิดเต้าเดี่ยว (single) เต้าคู่ (duplex) และชนิดสามเต้า (triplex) กรณีติดตั้งชนิดตั้งแต่ 4 เต้า ให้คำนวณโหลดจุดละ 360 VA

และมีการกำหนดขนาดของวงจรย่อยของโหลดเต้ารับไว้ดังนี้

ข้อ 3.1.5.1 วงจรย่อยขนาดไม่เกิน 20 A โหลดของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวรหรือที่ใช้เต้ารับเสียบแต่ละเครื่องจะต้องไม่เกินขนาดพิกัดวงจรย่อย กรณีมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบรวมอยู่ด้วยโหลดที่ติดตั้งถาวรรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 50% ของวงจรย่อยนั้น

ดังนั้นปกติหากเราออกแบบวงจรย่อยของเต้ารับคู่ทั่วไป

จะใช้นิยมใช้วงจรย่อยขนาด 16A (แนะนำมีขนาดไม่เกินพิกัดของพิกัดเต้ารับไฟฟ้าทั่วไป คือ 16A) จะได้ขนาดโหลดประมาณ 3,600 VA ต่อวงจร (3600/230=16A)

หากเราคิดขนาดโหลดของเต้ารับ ตามมาตรฐานฯ (สำหรับเต้ารับเดี่ยวและเต้ารับคู่) จะให้คำนวณโหลดจุดละ 180 VA โดยโหลดรวมไม่ต้องไม่เกิน 50% ของโหลดทั้งหมด ดังนั้น ถ้าโหลดรวมเท่ากับ 3,600 VA ไม่เกิน 50% ก็จะเท่ากับ 3600/2 = 1,800 VA ก็จะได้จำนวนเต้าต่อ 1 วงจรไม่ควรเกิน 10 เต้ารับ (180VA ×10 = 1,800VA)

สรุป ถ้าใช้ CB 16AT , ไม่ควรออกแบบจำนวนเต้ารับเกิน 10 จุดต่อ 1 วงจร, โดยเต้ารับ 1 จุดคำนวณโหลด 360 VA ต่อจุด

การออกแบบและประมาณราคา