Lesson 55 : วิธีคิดค่าปรับงานก่อสร้าง 5 ตัวอย่าง โดยกรมบัญชีกลาง

วิธีคิดค่าปรับงานก่อสร้าง 5 ตัวอย่าง โดยกรมบัญชีกลาง

วิธีคิดคำนวนค่าปรับกรณีงานก่อสร้างซึ่งจะมีวิธีการคิดคำนวณที่แตกต่างกัน ลองมาดูกันครับว่ามีวิธีการคิดอย่างไร 

ตัวอย่างที่ 1 กรณีครบกำหนดส่งมอบเป็นเป็นวันทำการ กำหนดอัตราค่าปรับอัตราร้อยละ 0.10 ของราคางานจ้าง

ยกตัวอย่างสัญญาจ้างงานก่อสร้างแห่งหนึ่งลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 1 มีนาคมและครบกำหนดส่งมอบงานวันที่ 31 กรกฎาคมซึ่งเป็นวันทำการคือวันศุกร์ผลปรากฏว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานวันที่ 24 สิงหาคมซึ่งผิดนัดวันครบกำหนดส่งมอบเมื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุและแจ้งผลการตรวจรับว่างานถูกต้องเรียบร้อยในวันที่ 28 สิงหาคมการคำนวณค่าปรับก็จะเริ่มนับผลจากวันที่ครบกำหนดส่งมอบคือวันที่ 1 สิงหาคมไปจนถึงวันที่คณะกรรมการตรวจรับงานว่าถูกต้องเรียบร้อยคือวันที่ 28 สิงหาคมคิดเป็น 28 วันเมื่อคณะกรรมการตรวจรับเรียบร้อยแล้วการคำนวณวันที่ผิดนัดก็จะมีผลย้อนกลับไปวันที่ 20 สิงหาคมซึ่งเป็นวันที่ส่งมอบดังนั้นวันที่ผิดนัดจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมถึงวันที่ 20 สิงหาคมคิดเป็นจำนวนวันที่ผิดนัดทั้งสิ้น 20 วันครับ

ส่วนการคิดค่าปรับในกรณีงานก่อสร้างก็จะคำนวนโดยใช้อัตราค่าปรับคือ 0.10% ของมูลค่าสัญญาหรือข้อตกลงครับโดยนำอัตราค่าปรับคือ 0.10% คูณด้วยมูลค่าสัญญาหรือข้อตกลงสมมุติว่าอยู่ที่ 2 ล้านบาทก็คูณด้วยจำนวนวันที่ผิดนัดซึ่งในที่นี้คือ 20 วันก็จะได้ผลลัพธ์ของอัตราค่าปรับทั้งสิ้นอยู่ที่ 40,000 บาทครับ

ตัวอย่างที่ 2 กรณีวันครบกำหนดส่งมอบเป็นวันหยุดกำหนดอัตราค่าปรับอัตราร้อยละ 0.10 ของราคางานจ้างเนื่องจากกำหนดส่งมอบด้วยสัญญามักจะระบุเป็นจำนวนวันเช่น 120 วัน 180 วันหรือ 360 วันเป็นต้นวันครบกำหนดส่งมอบจึงอาจตรงกับวันหยุดราชการซึ่งไม่ใช่วันทำการได้ การกำหนดค่าปรับสิ่งมีวิธีการต่างจากปกติเล็กน้อยจากนี้ครับ

ยกตัวอย่างสัญญาจ้างก่อสร้างแห่งหนึ่งลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 1 มีนาคมและครบกำหนดส่งมอบวันที่ 31 กรกฎาคมซึ่งบังเอิญตรงกับวันหยุดคือวันเสาร์ผลปรากฏว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานวันที่ 20 สิงหาคมซึ่งผิดนัดวันครบกำหนดส่งมอบเมื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุและแจ้งผลการตรวจรับว่างานถูกต้องเรียบร้อยในวันที่ 28 สิงหาคมแต่เนื่องจากมันก็กำหนดส่งมอบร่วมกับวันเสาร์ซึ่งไม่ใช่วันทำการวันครบกำหนดส่งมอบจึงต้องเลื่อนเป็นวันทำการถัดมาคือวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคมการนับระยะเวลาที่เกิดจากจึงต้องเริ่มนับในวันถัดมาคือวันที่ 3 สิงหาคมไปจนถึงวันที่คณะกรรมการตรวจรับงานว่าถูกต้องเรียบร้อยคือวันที่ 28 สิงหาคมคิดเป็น 26 วันเมื่อหักลบกับระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจรับวันที่ผิดนัดก็จะมีผลย้อนกลับไปวันที่ 20 สิงหาคมซึ่งเป็นวันที่ส่งมอบดังนั้นวันที่ผิดนัดจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมวันที่ผิดนัดจึงมีผล วันที่ 20 สิงหาคมคิดเป็นจำนวนวันที่ผิดนัดทั้งสิ้น 18 วันครับ

เมื่อนำอัตราค่าปรับคูณด้วยมูลค่าสัญญาหรือข้อตกลงคูณด้วยจำนวนวันที่ผิดนัดคือ 18 วันก็จะได้ผลลัพธ์ของอัตราค่าปรับทั้งสิ้นอยู่ที่ 36,000 บาทครับ

ตัวอย่างที่ 3 กรณีส่งมอบงาน 2 ครั้งและวันครบกำหนดส่งมอบเป็นวันทำการ กำหนดอัตราค่าปรับอัตราร้อยละ 0.10 ของราคางานจ้างกรณีนี้เกิดขึ้นได้ครับ เมื่อมีการผิดนัดสัญญาและคณะกรรมการตรวจรับเห็นว่างานอย่างไม่เรียบร้อยและแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข การคำนวณค่าปรับก็จะมีวิธีการดังนี้ 

สัญญาจ้างก่อสร้างแห่งหนึ่งลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 1 มีนาคมและก็กำหนดส่งมอบงานวันที่ 31 กรกฎาคมซึ่งเป็นวันทำการคือวันศุกร์ ผลปรากฏว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครั้งที่ 1 วันที่ 20 สิงหาคมซึ่งผิดนัดวันส่งมอบ เมื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในวันที่ 28 สิงหาคมเห็นว่างานไม่ผ่านและแจ้งผลว่าให้แก้ไขครั้งที่ 1 ในวันที่ 31 สิงหาคมผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขและส่งมอบงานครั้งที่ 2 วันที่ 10 กันยายนคณะกรรมการตรวจรับและแจ้งผลว่างานถูกต้องเรียบร้อยในวันที่ 15 กันยายนการคำนวนค่าปรับก็จะเริ่มนับถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบคือวันที่ 1 สิงหาคมไปจนถึงวันที่คณะกรรมการตรวจรับรอบที่ 2 คือวันที่ 15 กันยายน 

แต่เนื่องจากงานที่ส่งมอบถูกต้องเรียบร้อยจำนวนวันที่ผิดนัดจึงมีผลย้อนหลังกลับไปวันส่ง มอบครั้งที่ 2 คือวันที่ 10 กันยายนคิดเป็นจำนวน 41 วันครับจากนั้นให้นำระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจรับตั้งแต่ส่งมอบงานครั้งที่ 1 ไปจนถึงแจ้งผลแก้ไขครั้งที่ 1 ซึ่งมีจำนวน 11 วันมาหักลบกับจำนวนวันที่ผิดนัดทั้งหมดคือ 41 วันก็จะได้จำนวนวันที่นำไปคำนวณค่าปรับทั้งสิ้น 30 วันครับ

เมื่อนำจำนวนวันที่ได้ถึง 30 วันมาคำนวณตามก็จะได้ผลครับเป็นค่าปรับจำนวนทั้งสิ้น 60,000 บาทครับ

ตัวอย่างที่ 4 กรณีส่งมอบงาน 2 ครั้งและวันครบกำหนดเป็นวันหยุดกำหนดอัตราค่าปรับอัตราร้อยละ 0.10 ของราคางานจ้างกรณีนี้ก็เช่นเดียวกันครับ

ยกตัวอย่างให้สัญญาจ้างก่อสร้างแห่งหนึ่งลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 1 มีนาคมและครบกำหนดส่งมอบงานวันที่ 31 กรกฎาคมซึ่งตรงกับวันเสาร์ผู้รับจ้างส่งมอบงานครั้งที่ 1 วันที่ 20 สิงหาคม ซึ่งผิดนัดกำหนดวันส่งมอบ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและแจ้งผลให้แก้ไขในวันที่ 31 สิงหาคมผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขและส่งมอบงานครั้งที่ 2 วันที่ 10 กันยายนคณะกรรมการตรวจรับและแจ้งผลว่างานถูกต้องเรียบร้อยในวันที่ 15 กันยายนแต่เนื่องจากวันครบกำหนดส่งมอบตรงกับวันเสาร์ซึ่งไม่ใช่วันทำการวันครบกำหนดส่งมอบจึงต้องเลื่อนเป็นวันทำการถัดมาคือวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคมการนับระยะเวลาที่เกิดปรับจึงต้องเริ่มนับในวันถัดมาคือวันที่ 3 สิงหาคมไปจนถึงวันที่คณะกรรมการตรวจรับเรียบร้อยคือวันที่ 15 กันยายนและเมื่องานที่ส่งมอบถูกต้องเรียบร้อยจำนวนวันที่ผิดนัดจึงมีผลย้อนหลังกลับไปวันที่ส่งมอบงานครั้งที่ 2 คือวันที่ 10 กันยายนคิดเป็น 39 วันจากนั้นจึงอยู่ว่าระยะเวลาที่คณะกรรมการใช้ในการตรวจรับงานในการส่งมอบงานครั้งที่ 1 เป็นเวลากี่วันซึ่งในกรณีนี้คือ 11 วัน

นำจำนวนวันที่ผิดนัดคือ 39 วันหากลบด้วยระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจรับคือ 11 วันก็จะได้จำนวนวันที่นำไปคำนวณค่าปรับคือ 28 วันครับ

เมื่อทำอัตราค่าปรับคูณด้วยมูลค่าสัญญาหรือข้อตกลงคูณด้วยจำนวนวันที่ผิดนัดคือ 28 วันก็จะได้ผลลัพธ์ของอัตราค่าปรับทั้งสิ้นอยู่ที่ 56,000 บาทครับ

ตัวอย่างที่ 5 กรณีส่งมอบงานครั้งที่ 1 ก่อนกำหนดส่งมอบและส่งมอบงานครั้งที่ 2 หลังกำหนดส่งมอบกำหนดอัตราค่าปรับอัตราร้อยละ 0.10 ของราคางานจ้าง

    ยกตัวอย่างสัญญาก่อสร้างแห่งหนึ่งลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 1 มีนาคมและครบกำหนดส่งมอบงานวันที่ 31 กรกฎาคมผู้รับจ้างส่งมอบงานก่อนกำหนดคือวันที่ 25 กรกฎาคมแต่คณะกรรมการตรวจรับใช้เวลาในการพิจารณาและแจ้งผลว่างานไม่ถูกต้องให้แก้ไขครั้งที่ 1 ในวันที่ 10 สิงหาคมผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขและส่งมอบงานครั้งที่ 2 ในวันที่ 10 กันยายนคณะกรรมการตรวจรับและแจ้งผลว่างานถูกต้องเรียบร้อยในวันที่ 15 กันยายนวันที่ผิดนัดจึงมีผลย้อนหลังไปในวันที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานครั้งที่ 2 คือวันที่ 10 กันยายนการคิดจำนวนวันที่ผิดนัดจึงเริ่มนับถัดจากวันถึงครบกำหนดส่งมอบคือวันที่ 1 สิงหาคมถึงวันที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานครั้งที่ 2 คือวันที่ 10 กันยายนคิดเป็นจำนวน 41 วันแต่เนื่องจากผู้รับจ้างมีการส่งมอบงานครั้งที่ 1 ก่อนกำหนดคือวันที่ 25 กรกฎาคมและคณะกรรมการใช้เวลาตรวจรับจนถึงวันที่แจ้งให้แก้ไขครั้งที่ 1 ในวันที่ 10 สิงหาคมคิดเป็นจำนวน 16 วันระยะเวลาในช่วงนี้จึงไม่ถือว่าผู้รับจ้างผิดนัด

การคิดจำนวนวันที่นำไปคำนวณค่าปรับจึงต้องนำจำนวนวันที่ผิดนัดทั้งหมดคือ 41 วันหากลบด้วยจำนวนวันที่คณะกรรมการใช้ตรวจรับคือ 16 วันก็จะได้จำนวนวันที่นำไปคำนวณค่าปรับคือ 25 วันครับ

เมื่อนำอัตราค่าปรับคูณด้วยมูลค่าสัญญาหรือข้อตกลงคูณด้วยจำนวนวันที่ผิดนัดคือ 25 วันก็จะได้ผลลัพธ์ของอัตราค่าปรับอยู่ที่ 50,000 บาทครับ 

ลิ้ง วิดิโอ ตัวอย่าง 

ลิ้ง วิดีโอ ตัวอย่าง 2

การติดตั้ง