Surge

Product Manager

ผู้ดูแล : คุณสรวิศ ,คุณศรายุทธ ,คุณเพิ่มพูน

อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า (Surge Protection)


   Surge Protection มีความจำเป็นต่อห้อง Data Center โดย ทำหน้าที่ในการป้องกันสภาวะที่แรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าเกินหรือที่เรียกว่าไฟกระโชกในระยะเวลาสั้น ๆ ที่เกิดจากการสับหรือปลดวงจรไฟฟ้า หรือกระแสสูงที่เกิดจากฟ้าผ่า โดยอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าทำการลดหรือขจัดกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าเกินชั่วครู่

     ปัจจุบัน อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์สื่อสารนั้นมีการพัฒนาสูงขึ้นมาก โดยอุปกรณ์จะมีขนาดที่เล็กลง และมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ค่อนข้างเปราะบางต่อการสับปลดวงจรไฟฟ้าและฟ้าผ่า ถ้าหากเทียบมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อข้อมูลในองค์กรกับมูลค่าในการ ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าย่อมเทียบกันไม่ได้ ทำให้เกิดอุปกรณ์ป้องกันถูกพัฒนาเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

    Surge Protection ยังมีประเภทที่ใช้สำหรับระบบสื่อสาร เช่น อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ สำหรับระบบ LAN, สาย Coaxial จะเห็นว่าอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จที่มีอยู่ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายประเภท ดังนั้นก่อนติดตั้งจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการป้องกันเสิร์จในอาคารที่ทั่วโลกนิยมใช้อ้างอิง คือมาตรฐาน IEC หรือ IEEE

  • มาตรฐาน IEC ที่เกี่ยวข้องคือ

–  IEC 61024-1 : 1990-03 : Protection of structures against lightning Part 1 : General principles
–  IEC 61312-1 : 1995-02 : Protection against lightning electromagnetic impulse Part 1 : General principles
–  IEC 61000-4-5 : 1995-02 : Electromagnetic compatibility (EMC) Part 4: Testing and measurement techniques Section 5 : Surge immunity test
–  IEC 60664-1 : 2000-04 : Insulation coordination for equipment within low voltage systems Part :1 Printciples, Requirement and Tests

  •  มาตรฐาน IEEE ที่เกี่ยวข้องคือ

– IEEE C62.41-1991 IEEE Recommended practice on Surge Voltage in Low-Voltage AC Power Circuit
– IEEE C62.45-1992 IEEE Guide on Surge Testing for Equipment Connected to Low-Voltage AC Power Circuit

 และสำหรับประเทศไทยการป้องกันแรงดันไฟฟ้าเกินในอาคาร ได้มีมาตรฐานดังกล่าวแล้วคือการป้องกันแม่เหล็กไฟฟ้าจากฟ้าผ่า ของ “สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์”