งานติดตั้ง

Categories: 8. CRAC, STULZ

Parents: Product 8. CRAC

คู่มือการติดตั้ง Precision Air
Form Commissioning

ข้อมูลเครื่อง

Name Plate

วัตถุประสงค์

เครื่องปรับอากาศนี้ใช้สำหรับควบคุมอุณหภูมิห้องและความชื้นในอากาศ เครื่องปรับอากาศได้รับการออกแบบสำหรับการติดตั้งในร่ม หากใช้งานนอกเหนือจากนี้ STULZ จะไม่รับผิดชอบความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการใช้งานในทางที่ผิดของผู้ประกอบการ

ระบบลดความชื้น

เพื่อลดความชื้นบริเวณกว้าง ความสามารถในการระบายความร้อนจะลดลง เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศที่ไหลผ่านขดลวดแลกเปลี่ยนความร้อนจะผ่านจุดต่ำกว่าจุดน้ำค้าง ทำให้ความชื้นที่มีอยู่ในเครื่องควบแน่นของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน  จะรวมตัวกันในcondensate และระบายออกโดยท่อระบายน้ำ

ข้อจำกัดการใช้งาน

หน่วย STULZ CyberAir 3 DX มีทำงานภายในต่อไปนี้ :

  • สภาพอากาศที่รับได้ :

อุณหภูมิ:

   ขีดจำกัดต่ำสุด : 18 ° C

   ขีดจำกัดสูงสุด : 35 ° C

ความชื้น:

   ขีดจำกัดต่ำสุด : 5 ° C จุดน้ำค้าง

   ขีดจำกัดสูงสุด : 60% r.h และ 15 ° C จุดน้ำค้าง

  • สภาพแวดล้อมภายนอก :

   ขีดจำกัดต่ำสุด : -10 ° C ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าลดลงถึง – 45 ° C

   ขีดจำกัดสูงสุด : ขึ้นอยู่กับคอนเดนเซอร์ที่เลือก

  • สภาพการเก็บรักษา :

  อุณหภูมิ [° C] : -20 – +42

   ความชื้น [% rel h.] : 5 – 95

   ความดันบรรยากาศ [kPa] : 70 – 110

  • ความร้อนขั้นต่ำที่ต้องการ :

   มีคอมเพรสเซอร์เปิด / ปิด : 20% ของการระบายความร้อน

   การควบคุมความเร็ว : 30% ของการระบายความร้อน

  • ความยาวของท่อระหว่างเครื่องปรับอากาศและคอนเดนเซอร์ : เทียบเท่า 30 ม.
  • ความสูงระหว่างคอนเดนเซอร์และเครื่องปรับอากาศ : 5 เมตร (เมื่อคอนเดนเซอร์ต่ำกว่าเครื่องปรับอากาศ )
  • ท่อน้ำเย็น

   แรงดันน้ำสูงสุด : 16 บาร์

  •  น้ำเย็น :

   อุณหภูมิเมื่อเข้าเครื่อง : 5 ° C

   อุณหภูมิต่ำสุด ความแตกต่างกับ 5 ° C EWT : 4 K

  • สภาวะน้ำร้อนสำหรับขดลวดความร้อนเสริม :

   อุณหภูมิสูงสุดของน้ำที่ไหลเข้า : 110 ° c

   แรงดันน้ำที่หัวสูงสุด : 8.5 บาร์

  • แรงดันไฟฟ้า : 380 – 415V / 3ph / 50Hz; N; PE
  • ความทนทานต่อแรงดันไฟฟ้า : +/- 10% (ไม่ใช่สำหรับการใช้งานถาวร)
  • ความทนทานต่อความถี่ : +/- 1%

การปรับสวิตช์ความดัน

ตารางที่  1 การปรับสวิตช์ความดัน

เงื่อนไขการออกแบบสำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีคอมเพรสเซอร์เปิด / ปิด

  • การเชื่อมต่อไฟฟ้า : 400V / 3ph / 50Hz
  • แบบ Down-flow ที่มีความดันสถิตภายนอก : 20 Pa
  • แบบ Up-flow ที่มีความดันสถิตภายนอก : 50 Pa

ตารางที่ 2 เงื่อนไขการออกแบบสำหรับเครื่องปรับอากาศที่มีคอมเพรสเซอร์

หลักการทำงาน

การทำงานของ Precision Air

1.ระบบการลดอุณหภูมิ

2. ระบบการเพิ่มอุณหภูมิ

3. ระบบการเพิ่มความชื้น

   4. ระบบการลดความชื้น

กระบวนการลดอุณหภูมิ

จากคอยล์เย็น น้ำยาในตัวคอยล์เย็นดูดอุณหภูมิความร้อนภายในห้องเข้าไปตัวน้ำยา ทำให้น้ำยาอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังไม่มากพอกับอุณหภูมิข้างนอก จึงส่งไปที่คอมเพรสเซอร์เพื่อไปเพิ่ม pressure เปลี่ยนจาก Low pressure เป็น High pressure   และทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น ไปด้วย เมื่ออุณหภูมิน้ำยาสูงกว่าอุณหภูมินอกห้อง ก็ส่งไปที่ condenser เปลี่ยนสถานะจาก gas เป็น liquid ไปยัง Receiver แล้วส่งไปที่ Expansion valve เพื่อลด pressure แล้วส่งไปที่คอยเย็นเพื่อ ดูดซับอุณหภูมิความร้อนภายในห้อง 

กระบวนการเพิ่มอุณหภูมิโดยใช้ Heater

การเพิ่มอุณหภูมิแบบใช้ Heater เมื่อความชื้นสูงเกินไป อาจทำให้ระบบ server เสียหายได้ เลยต้องลดอุณหภูมิลงทำให้ความชื้นลดลงมาในค่าที่เราต้องการ และใช้ Heater เพิ่มอุณหภูมิขึ้นมาให้อยู่ในค่าปกติ

กระบวนการเพิ่มอุณหภูมิแบบใช้ Hotgas

การเพิ่มอุณหภูมิแบบใช้ Hotgas หลักการทำงานเพื่อเพิ่มอุณหภูมิเหมือนกับ Heater แต่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเหมือนกับ Heater

กระบวนการเพิ่มความชื้น

เมื่อควบแน่นจะทำให้อุณหภูมความชื้นลดลง สามารถเพิ่มความชื้นได้โดยการติดหม้อต้ม ทำให้ความชื้นเพิ่มขึ้นมาอยู่ในจุดที่พอเหมาะ

กระบวนการลดความชื้น

สามารถลดความชื้นได้โดยการ ลดความเร็วของพัดลม และลดพื้นที่คอยล์เย็น 

งานติดตั้ง

องค์ประกอบ

  1. CRAC
  2. แหล่งจ่ายไฟฟ้า
  3. Condenser
  4. ท่อสารทำความเย็น ( Precision Air ) กรณีใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้เป็นระบบน้ำยา
  5. ท่อ Black steel pipe กรณีใช้ในระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้เป็นระบบน้ำเย็น
  6. ท่อน้ำเติมเข้าเครื่องปรับอากาศ
  7. ท่อน้ำดี
  8. ท่อน้ำทิ้ง

การเตรียมการ

  1. สำรวจไซต์งาน
  2. Shop drawing
  3. ประเมินอุปกรณ์ที่จะใช้งาน
  4. ตรวจสอบความถูกต้อง

งานไฟฟ้า

– ท่อร้อยสาย

            ประกอบด้วย

      1. ท่อ EMT ใช้สำหรับงานภายใน

2.  ท่อ IMC ใช้สำหรับงานภายนอก

– สายไฟฟ้า

            ประกอบด้วย

 1. สายไฟฟ้า IEC01

– รางสายไฟ

– สายสัญญาณต่างๆ

            ประกอบด้วย

  1.  สาย Fire Alarm ใช้สาย FRC ขนาด 1 sq.mm. (กรณีไม่มีสาย FRC ให้สาย 2 core shied)
  2. สาย sequence สาย 2 core ขนาดไม่ต่ำกว่า 0.75 sq.mm.
  3. สาย BMS สาย 2 core with Ground ขนาดไม่ต่ำกว่า 0.75 sq.mm.

– Phase Protection

งานเครื่องกล

– อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศชนิดน้ำยา

  – ท่อทองแดง Type L

– ท่อทองแดงชนิดม้วน ( ใช้ในการต่อ Pressure Relief )

– ท่อน้ำเย็น 

  – Flow Switch

 – ท่อเหล็กดำ Schedule 40 (กรณีที่ใช้ในระบบปรับอากาศที่ใช้เป็นระบบน้ำเย็น)

– Temperature Gauge

– Balancing Valve

– Strainer

– Gate Valve

– Pressure Gauge

สุขาภิบาล

– ท่อน้ำเติมเข้าเครื่องปรับอากาศ

  – ท่อ Galvanized steel pipe

– Gate Valve

– Strainer

– ท่อน้ำทิ้ง

  – PVC class 13.5

– Drain Pump

เครื่องมือ
– เครื่องเชื่อม

– N2 Cylinder

– Vacuum Pump

– เครื่องมือตัดท่อทองแดง

– ชุดขยายปลายท่อ

– เครื่องดัดท่อทองแดง

– Flaring Tool

– ชุดเครื่องมืองานช่าง

อุปกรณ์เสริม

– ฉนวนหุ้มท่อ (closed cell foam insulation)

– Fitting 

1. Copper ( ใช้สำหรับติดตั้งเดินน้ำยาแอร์ ทนความร้อนและแรงดันสูง )

ข้อต่อ 3 ทาง

ข้องอ

ข้อต่อตรง

ข้อต่อเกลียวนอก

2. Pipe

3. PVC ( ใช้สำหรับท่อน้ำทิ้ง )

ข้องอท่อ PVC

ข้อต่อท่อสามทาง PVC

การเลือกขนาดท่อ

1. ตรวจสอบชนิดน้ำยา

2. ตรวจสอบ Cooling capacity (kW)

3. ตรวจสอบระยะห่างจากคอยล์เย็นไปถึงคอยล์ร้อน

กราฟสำหรับท่อวงจรสารทำความเย็นชนิด R407C

กราฟสำหรับท่อวงจรสารทำความเย็นชนิด R410A

*********************************************************************************************

ตัวอย่าง การเลือกท่อวงจรสารทำความเย็น กำหนด ระยะห่างจากคอยล์เย็นไปถึงคอยล์ร้อน เท่ากับ 20 เมตร 

จาก Data sheet  

    น้ำยา : R407C

    Cooling capacity : 11.8 kW

    ระยะห่างจากคอยล์เย็นไปถึงคอยล์ร้อน เท่ากับ 20 เมตร

ดังนั้น จะได้ท่อขนาด 12 มิลลิเมตร

  *********************************************************************************************

ค่าความดันลดลง (Pressure drop) ของข้อต่อท่อเทียบเป็นหน่วยความยาวท่อ (Equivalent pipe length) 

งานติดตั้ง

1. การติดตั้งระบบปรับอากาศควบคุมความชื้น

ก่อนทำการติดตั้งต้องทำการตรวจสอบสภาพเครื่องปรับอากาศก่อน เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องปรับอากาศมีการเสียหายระหว่างการขนส่งก่อนหรือไม่ โดยตรวจสอบจากสภาพภายนอกและรวมถึงตรวจสอบขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศว่าถูกต้อง ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบ วัสดุ – อุปกรณ์ ทุกอย่างที่ใช้ในการติดตั้ง เช่น

  • เครื่องปรับอากาศขนาดตรงตามต้องการหรือไม่
  • ท่อน้ำยาและอุปกรณ์ ขนาดตรงตามมาตรฐานหรือไม่
  • ท่อน้ำดีและน้ำทิ้ง อุปกรณ์ ขนาดตรงตามมาตรฐานหรือไม่
  • ตรวจเช็คสภาพของเครื่องปรับอากาศว่าชำรุดเสียหายจากการขนส่งหรือไม่
  • การตรวจสอบเครื่องปรับอากาศแบบควบคุมความชื้น

2. การตรวจสอบเครื่องปรับอากาศแบบควบคุมความชื้น

3. การตรวจสอบขนาดและ Spec ของขนาดท่อต่างๆ

4. ท่อทองแดง

  • ทำความสะอาดท่อแดงที่ใช้ในการติดตั้ง
  • ติดตั้ง Support สำหรับวางท่อทองแดง
  • เชื่อมต่อทองแดงด้วยกันใช้ N2 Cylinder ในการเป่าระหว่างการเชื่อม ที่ 5 psi ตลอดเวลาเพื่อกันเขม่า
  • Test รั่ว N2 Cylinder 350 psi และหุ้มฉนวนหนาไม่ต่ำกว่า ¾ นิ้ว
  • การยึดท่อกับ Support ต้องมีแผ่นยางรองจากท่อและ Camp

5. ท่อสารทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบควบคุมความชื้น (Precision Air)

  ข้อควรระวัง : ไม่ควรเดินท่อน้ำยาผ่านห้องต่างๆ เช่น ห้องประชุม, ห้องน้ำ office

  • ท่อทองแดงต้องเป็นขนาด Type L เท่านั้น
  • ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อการป้องกันอันตรายอย่างเคร่งครัด
  • การเดินท่อจะต้องพิจารณาเส้นทางที่สั้นที่สุด
  • ต้องย้าย Pressure Relief Valve ที่ Receiver Tank ไปติดตั้งที่ท่อ Liquid ที่ Condenser
  • ต้องทำการ Purge ท่อทำความสะอาดหลังการติดตั้งเสร็จ

Pressure Relief Valve ที่ Receiver Tank  

 ตัวอย่างการติดตั้ง Pressure Relief Valve ติดตั้งที่ท่อ Liquid ที่ Condenser 

  • หลีกเลี่ยงการโค้งงอท่อให้มากที่สุด เพื่อป้องกันผลกระทบต่อระดับความดัน (Pressure drop) อันส่งผลให้ขนาดการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลดลง การโค้งของท่อต้องรักษาให้โค้ง 45 องศาเสมอ 

 ลักษณะการโค้งงอของท่อที่ถูกต้อง

  • การเดินท่อในแนวนอนไปยังคอนเดนเซอร์จะต้องมีความลาดชันที่เหมาะสมเพื่อป้องกันน้ำมันและสารทำความเย็นไม่ให้ไหลย้อนกลับเมื่อปิดเครื่องปรับอากาศ และท่อความร้อน (Hot gas) จะต้องหุ้มฉนวนเสมอเมื่ออยู่ในอาคาร
  • ท่อความดันหรือท่อน้ำยา GAS (Pressure line) ทุกๆ ระยะ 2.5-3 เมตร จะต้องมี oil trap 
  • ความยาวท่อน้ำยาไม่ควรเกิน 70 เมตร
  • Condensing สูงกว่า FCU มากกว่า 20 เมตร ให้ทำ Oil Trap ทุกๆ 6 เมตร ในแนวดิ่ง และให้ Oil Trap ให้ข้องอสุดท้ายสูงกว่าท่อที่เข้า Condensing ที่ท่อ Gas

การเดินท่อไปยังคอนเดนเซอร์ที่สูงกว่า

  • Condensing ต่ำกว่า FCU ถ้ามากกว่า 10 เมตร ในแนวดิ่ง ให้ติด Oil separator และทำ Oil Trap ทุกๆ 6 เมตร ที่ท่อ Hot Gas

การเดินท่อไปยังคอนเดนเซอร์ที่ต่ำกว่า

  • เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของของเหลวที่ควบแน่น ต้องมีการติดตั้งวาล์วป้องกันการไหลย้อย ในท่อความดันหากไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์นี้ในเครื่องหรือที่อุปกรณ์แยกน้ำมัน (oil separator)
  • หากไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์แยกน้ำมัน (oil separator) ในระบบ จะต้องมีการใช้น้ำมันที่เป็นชนิดเดียวกันกับคอมเพรสเซอร์ที่สอดคล้องกับคำแนะนำของผู้ผลิต
  • ท่อทองแดงที่ผ่านบริเวณก่อสร้างอาคารปูนหรืออิฐจะต้องมีการหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระทบจากปูน หรืออิฐ
  • ในการเดินท่อให้ใช้ท่อทองแดงเท่านั้น (เพื่อสอดคล้องกับกฎของการติดตั้งของรัฐ) ปลายหรือฝาท่อจะต้องได้รับการดูแลให้สะอาดและแห้งตามหลักวิศวกรรมระบบทำความเย็น
  • ก่อนเริ่มการติดตั้งท่อแต่ละอันจะต้องตรวจสอบว่าภายในท่อมีความสะอาดและแห้ง ตรวจสอบที่ฝาปิดหุ้มปลายท่อและหากจำเป็นต้องทำความสะอาดให้เป่าในโตรเจนผ่านภายในท่อ หากไม่มีฝาปิดหุ้มปลายท่อแล้วให้ทำความสะอาดภายในโดยผ้าสะอาดที่ไม่หลุดเป็นชิ้นง่ายและขดลวดแล้วเป่าด้วยไนโตรเจนเพื่อขจัดฝุ่นที่หลงเหลืออยู่ 
  • ท่อสารทำความเย็นต้องตัดด้วยมีดสำหรับตัดท่อเท่านั้น

        คำเตือน : ห้ามตัดท่อสารทำความเย็นโดยใช้วิธีการเลื่อย เนื่องจากสะเก็ดชิ้นเล็กๆ จากการเลื่อยจะไม่สามารถกำจัดได้หมด

                        ซึ่งนอกจากจะทำให้ท่อสกปรกแล้ว ยังจะเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ควบคุมต่างๆและคอมเพรสเซอร์ได้

  • การมีการเผาหรือลนไฟท่อทองแดงเครื่องมือเผาหรือลนไฟจะต้องชโลมด้วยน้ำมันเพื่อป้องกันเศษวัสดุจากเครื่องมือเข้าไปในท่อ
  • การบัดกรีท่อบรรจุสารทำความเย็นให้ใช้ก๊าซเฉื่อยเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดเศษวัสดุใดๆ ทำให้ท่อสกปรก
  • การบัดกรีท่อโดยขาดการควบคุมจากผู้เชี่ยวชาญมีผลต่อการผิดเงื่อนไขการรับประกันเครื่องปรับอากาศ
  • การเป่าก๊าซไนโตรเจนที่เป็นก๊าซเฉื่อยด้วยความดันน้อยๆ เป็นสิ่งเหมาะสมในการทำความสะอาดท่อโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อรอยบัดกรีท่อ

        คำเตือน : หลังการบัดกรีเสร็จสมบูรณ์ ต้องขันเกลียวที่คลายไว้ให้แน่นเหมือนสภาพเดิม

 การติดตั้งท่อระบบน้ำยาของเครื่องปรับอากาศแบบควบคุมความชื้น (Precision Air) นั้น ท่อของระบบปรับอากาศแบบนี้ท่อทั้ง 2 ชุดที่เข้าและออกมาจาก AHU จะเป็นท่อ Hotgas และ Liquid ซึ่งทั้ง 2 ท่อนี้จะเป็นท่อที่มีความร้อนทั้งคู่ ซึ่งต้องทำการหุ้มฉนวนด้วยกันทั้ง 2 ท่อ บริเวณที่แนวเดินท่อผ่านห้องที่มีระบบปรับอากาศ เพื่อป้องกันการเป็น Heat Load ในห้องนั้น ๆ และอาจจะเกิดการ Condense ได้ในกรณีที่อุณหภูมิแตกต่างกันมาก

การเดินท่อน้ำยาและท่อไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบควบคุมความชื้นบริเวณภายนอกอาคาร

การเดินท่อน้ำยาและท่อไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศแบบควบคุมความชื้นบริเวณภายในอาคาร
6. ท่อน้ำ Chilled Water

  • ติดตั้ง Support จากนั้น วางท่อน้ำ และ Set อุปกรณ์ ถึงจะเชื่อมท่อ
  • ทาสีกันสนิมท่อ
  • จากนั้น Test โดยนำน้ำเข้าไปในท่อ โดย Test ที่ 200 psi หรือ 2 เท่า ของแรงดันที่ Operate
  • หุ้มฉนวนหนา 1 ½ ‘’ ที่ท่อน้ำ Chilled Water

7. ท่อน้ำดี

  การติดตั้งท่อน้ำดีของระบบปรับอากาศแบบควบคุมความชื้น นั้น ท่อน้ำต้องเป็นท่อชนิด ท่อเหล็ก (Galvanized Steel) ขนาด 1/2 นิ้ว และจะต้องมีการติดตั้ง Gauge Valve ปิดเปิดควบคุมโดย CRAC พร้อมทั้ง Y – Strainer เพื่อทำการกลั่นกรองสิ่งสกปรกก่อนที่จะจ่ายน้ำให้กับระบบทำความชื้นของเครื่อง และบริเวณรอยต่อของท่อทุกจุดต้องมีการตรวจสอบเกลียวของท่อให้แน่นพร้อมทั้งทาน้ำยาประสานท่อด้วยเพื่อป้องกันการรั่วซึม และ มี Support ตามมาตรฐานการเดินท่อน้ำประปา

  • ติดตั้ง Support จากนั้น วางท่อน้ำ และ Set อุปกรณ์ ถึงจะเชื่อมท่อ
  • จากนั้น Test โดยนำน้ำเข้าไปในท่อ โดย Test ที่ 200 psi หรือ 2 เท่า ของแรงดันที่ Operate

การติดตั้ง Support ของท่อน้ำดี

8. ท่อน่ำทิ้ง

 การติดตั้งท่อน้ำทิ้งของระบบปรับอากาศนั้น ท่อน้ำทิ้งต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว และต้องเป็นพี.วี.ซี. ชั้น 13.5 ตาม มอก.17 ซึ่งท่อที่อยู่ในผ้าเพดานหรือท่อที่อยู่ภายในอาคารที่ไม่อยู่ในบริเวณปรับอากาศต้องทำการหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการเกิด Condense ห้ามต่ำกว่าขนาด 3/8นิ้ว และที่สำคัญแนวของท่อน้ำทิ้งต้องอยู่ในระดับที่ลาดเอียง 1 เซนติเมตร ต่อความยาว 150 เซนติเมตร และต้องมี U-Tap เพื่อป้องกันน้ำทิ้งถูกดูดขึ้นมาจากท่อน้ำทิ้ง จากรูป ถ้า Staric Pressure มีค่า 300 Paจะต้องมีค่า h เท่ากับ 3 เซนติเมตร Support ต้องห่างทุกๆ 1.5 เมตร และต้องมี Tap สำหรับดูดท่อน้ำทิ้ง

  • ติดตั้ง Support จากนั้น วางท่อน้ำ และ Set อุปกรณ์ ถึงจะเชื่อมท่อ
  • Test รั่วโดยอุดท่อปลายทาง แล้วเติมน้ำให้เต็มจากนั้นรอ 2 ชั่วโมง ถ้าน้ำไม่ลดระดับ แสดงว่า Test ผ่าน
  • ติดตั้ง Drain Pump ในถังน้ำทิ้ง

แนวของท่อน้ำทิ้งต้องอยู่ในระดับที่ลาดเอียง 1 เซนติเมตร ต่อความยาว 150 เซนติเมตร และต้องมี U-Tap เพื่อป้องกันน้าทิ้งถูกดูดขึ้นมาจากท่อน้าทิ้ง จากรูป ถ้า Static Pressure มีค่า 300 Pa จะต้องมีค่า h เท่ากับ 3 เซนติเมตร Support ต้องห่างทุกๆ 1.5 เมตร

การติดตั้งท่อน้ำทิ้งของระบบปรับอากาศ

    หมายเหตุ : ต้องติดตั้งทุกครั้งหลังการเดินท่อเสร็จจะต้องมีการทดสอบการรั่วซึมโดยเติมไนโตรเจนแห้งด้วยระดับความดันปกติที่สูงที่สุดปิดระบบ ปิดวาล์วและถอดถังไนโตรเจนออกตรวจสอบจุดเชื่อมต่อทุกจุดโดยใช้แปรงปัด brushing off ขณะเดียวกันอ่านระดับความดันที่อุปกรณ์วัดความดัน (เพรสเชอร์เกจ) ว่าระบบท่อเกิดรั่วซึมหรือไม่ท่อน้ำยาด้านของเหลวนั้นควรหุ้มด้วยฉนวนยางหุ้มท่อ ความหนา 9 มิลลิเมตร

 9. ระบบไฟฟ้า

 ติดตั้งสายไฟตามที่แบบกาหนด จากนั้น Mark สาย และ Mark น๊อตการขันไว้เพื่อให้ทราบภายหลังว่าใครคลายน๊อต การติดตั้งระบบไฟฟ้าของระบบปรับอากาศนั้น ต้องทำการติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าจาก Main Supply ไปจ่ายให้กับตัวเครื่องปรับอากาศซึ่งขนาดสายและท่อร้อยสายไฟต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของตัวเครื่องปรับอากาศ และต้องมีอุปกรณ์ตัดตอนทั้ง 2 ส่วน คือ ส่วนของ Condenser Unit และ Fan Coil Unit ซึ่งในส่วนของ Condenser Unit นั้น อุปกรณ์ทุกอย่างต้องเป็นแบบชนิดกันน้ำ (Rain Tight ) ทั้งหมด

สวิตช์ตัดตอน ส่วนของ Condenser Unit บริเวณภายนอกอาคาร

10.การติดตั้งขาตั้งและแท่นวางเครื่องปรับอากาศ

 การติดตั้งขาตั้งและแท่นวางเครื่องปรับอากาศ

การติดตั้งขาตั้งทาขึ้นเพื่อปรับระดับความสูงของเครื่องปรับอากาศ และขาตั้งทาจากเหล็ก Galvanized แท่นวางต้อง adjust ได้โดยใช้ น๊อตเพื่อปรับเปลี่ยนระดับได้ และมีแผ่นยางรองใต้ CRAC ยางกันสั่นให้ใช้ระหว่างเครื่องปรับอากาศกับขาตั้ง และขาตั้งกับพื้น

11. ตำแหน่งติดตั้ง FCU และพื้นที่สำหรับ Service

  • ต้องวางให้เครื่องมีพื้นที่รอบเครื่องและสามารถเดินรอบเครื่องได้ เพื่อให้สามารถบำรุงเครื่องปรับอากาศได้
  •  ต้องมีพื้นที่เหนือตัวเครื่องปรับอากาศอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
  • แท่นวางต้อง adjust ได้ และมีแผ่นยางรองใต้ CRAC
  • ต้องมีพื้นที่ข้างหน้าอย่างน้อย 1 เมตร

ตำแหน่งติดตั้ง FCU และพื้นที่สำหรับ Service ที่เหมาะสม

12. การติดตั้ง Condensing และ พื้นที่ Service

  • วางในบริเวณที่พื้นที่ถ่ายเทได้สะดวก
  • ต้องมีฐานปูนเพื่อเป็นฐานรองวาง
  • เมื่อติดตั้ง Condensing ในแนวตั้งให้ติดตั้งท่อน้ำยาทางด้าน Liquid อยู่ด้านล่าง
  • ต้องมียางรองที่ขา Support ของ CDU

การติดตั้ง Condensing และ พื้นที่ Service ที่เหมาะสม

  • บริเวณโดยรอบควรติดตั้งให้โดยรอบมีพื้นที่ห่างจาก Condensing มากกว่า 0.5 เมตร และห่างจากด้านอุปกรณ์ไฟฟ้ามากกว่า 1 เมตร

ระยะห่างที่เหมาะสมจาก Condensing

งานทดสอบระบบต่างๆ

หลังจากทำการติดตั้งแล้วเสร็จให้ทำการวัดข้อมูลต่าง ๆ ทางด้านวิศวกรรมที่สำคัญ ๆ เช่น

1. ความดันของสารทำความเย็น

2. กระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ทุกตัว

3. อุณหภูมิภายใน และ ภายนอก

4. วัดแรงลมด้านเข้าและด้านออกของเครื่องปรับอากาศ

5. ค่าการตัดด้านแรงดันน้ำยาต่ำ / สูง (Hi cut , Low Cut )

Electrical Box 

Temperature and Humidity Sensor

ชุด Controller C 7000

1.                  –  C7000 Controller Display

1.            –  C7000 Controller Symbols

1.      –   “Info” Menu

1.       –  “Operate” Menu

1.       – “Config” Menu